ปัจจัยขับเคลื่อนการใช้ระบบคลาวด์สำหรับธุรกิจไทยให้ประสบผลสำเร็จ

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ ลีลาทวีวุฒิ สาขาบริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ระบบคลาวด์, ปัจจัยขับเคลื่อน, ตัววัดผลสำเร็จและธุรกิจไทย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันหลายองค์การกำลังเผชิญปัญหาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ความต้องการขยายขนาดโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบ ทำให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีมูลค่าสูง และเป็นภาระในการดูแลรักษาในระยะยาว รวมถึงการขาดประสิทธิภาพในการทำงานและขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ หากองค์การไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการใช้งานจะส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจลดลง ดังนั้นการเกิดของระบบคลาวด์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นการใช้บริการทรัพยากรด้านโครงสร้างพื้นฐานแพลทฟอร์มและซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้องค์การดำเนินงานธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการใช้ระบบคลาวด์สำหรับองค์การธุรกิจในประเทศไทยยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากยังเป็นเรื่องใหม่ และมีงานวิจัยไม่มากที่ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและผลสำเร็จของการใช้ระบบคลาวด์ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อหาปัจจัยขับเคลื่อนและสร้างตัววัดผลสำเร็จของการใช้ระบบคลาวด์ รวมถึงเพื่อตรวจสอบยืนยันปัจจัยขับเคลื่อนและตัววัดผลสำเร็จของการใช้ โดยระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษานี้เป็นแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในขั้นเตรียมการ และสำรวจข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 25 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย โดยการวิเคราะห์ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความคิดเห็นสอดคล้องกันเป็นฉันทามติ หลังจากนั้นพัฒนาเป็นแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ โดยสำรวจข้อมูลจากตัวอย่างขนาด 402 องค์การ และวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยขับเคลื่อนที่เป็นสาเหตุของการใช้ระบบคลาวด์สำหรับองค์การธุรกิจ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์การ และด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร สำหรับตัววัดผลสำเร็จของการใช้ระบบคลาวด์ ประกอบด้วย 4 มุมมองคือ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มุมมองด้านกระบวนการภายในและมุมมองด้านการ เรียนรู้และการพัฒนา นอกจากนี้ผลการตรวจสอบยืนยันปัจจัยขับเคลื่อนและตัววัดผลสำเร็จของการใช้ระบบคลาวด์ พบว่า มีความสอดคล้องกันระหว่างตัวอย่างกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยองค์การขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยของปัจจัยขับเคลื่อนสูงสุด ได้แก่ ความรู้และความเข้าใจของผู้บริหาร ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น ขยายขนาดตามความต้องการ ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างโอกาสทางการตลาด และองค์การขนาดเล็กยังมีค่าเฉลี่ยของตัววัดผลสำเร็จสูงสุด ได้แก่ รายได้ของสินค้าและบริการต่อปี ระดับการตอบสนองด้านความต้องการตามมาตรฐานการบริการ ประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน และร้อยละความพึงพอใจของพนักงานต่อระบบคลาวด์ หากเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดองค์การ พบว่า ค่าเฉลี่ยปัจจัยขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ และค่าเฉลี่ยตัววัดผลสำเร็จมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 กล่าวโดยสรุปงานวิจัยนี้ได้นำเสนอกรอบแนวคิดของการประยุกต์การใช้ระบบคลาวด์ เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับองค์การธุรกิจในการนำระบบคลาวด์ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างผลการดำเนินงานขององค์การที่ดี

References

นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2551). การวัดประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 31(119), 9-31.

ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง. (2553). การประมวลผลแบบคลาวด์. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33, 128. น. 14-21.

อุบลศิลป์ โพธิ์พรม, ประสงค์ ปราณีตพลกรัง, เปรื่อง กิจรัตน์ภร และชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์. (2553). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 50(3), น. 149-170.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). แนวทางการพัฒนาการให้บริการ Cloud Computing ในประเทศไทย. เอกสารประกอบงานสัมมนาแนวคิด หลักการ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบระบบเมฆ (น. 1-32). กรุงเทพฯ: โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ. สืบค้น 1 สิงหาคม 2556 จาก http://www.service.nso.go.thv/

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). แนวโน้มธุรกิจบริการ CLOUD COMPUTING ปีมะเส็ง: เติบโตแข็งแกร่งจากปัจจัยหนุนรอบด้าน. กระแสทรรศน์,19(2321), 1-3. สืบค้น 15 มีนาคม 2555, จาก http://www.kasikornresearch.com/

Al-Hudhaif, S. & Abdullah, A. (2011). E-Commerce Adoption Factors in Saudi Arabia. International Journal of Business and Management, 6(9). pp. 122-133.

Business Software Alliance, BSA. (2012). BSA Global Cloud Computing Scorecard A Blueprint for Economic Opportunity. Retrieved April 1, 2013, from http://www.bsa.org/

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3). pp. 319–340.

Dalkey, N.C. & Helmer, O. (1963). An experimental application of the Delphi method to the use of experts. Management Science, 9(3).

Ekufu, TG. K. (2012). Predicting Cloud Computing Technology Adoption By Organizations: An Empirical Integration Of Technology Acceptance Model And Theory Of Planned Behavior. Doctor of Philosophy. Minnesota: Capella University.

Grance, T. & Mell, P. (2011). The NIST Definition of Cloud Computing. Retrieved May 15, 2013, from http://www.dl.acm.org/

Hailu, A. (2012). Factors Influencing-Computing Technology Adoption In Developing Countries. Doctor of Philosophy. Minnesota: Capella University.

ISACA (2011). COBIT 5: Process Reference Guide Exposure Draft. pp. 1-16. Illinois: USA Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (1996). Balance Scorecard. Boston, Massachusetts: Harvard Business School Press.

Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique. In Paper presented at the annual meeting of the California junior college associations committee on research and development, Monterey, California.

Low, C., Chen, Y. & Wu, M. (2011). Understanding the determinants of cloud computing adoption. Industrial Management & Data Systems, 111(7). pp. 1006-1023.

Opala, O. J. (2012). An Analysis Of Security, Cost-Effectiveness, And IT Compliance Factors Influencing Cloud Adoption By IT Managers. Doctor of Philosophy. Minnesota: Capella University.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.

Powelson, S. E. (2012). An Examination of Small Businesses’ Propensity to Adopt Cloud-Computing Innovation. Doctor of Business Administration. Minnesota: Walden University.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of Innovations. (5th Ed). New York: The Free Press.

Stefen, F. Claudia, L. & Christoph, R. (2013). Key Performance Indicators for Cloud Computing SLAs. Retrieved May 15, 2013, from http://www.thinkmind.org/

Tornatzky, L. & Fleischer, M. (1990). The process of Technology Innovation. Lexington, MA, Lexington Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-14