อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์, ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ, ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์, คุณลักษณะของผู้ประกอบการ, และความสำเร็จทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดการของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย ประชากรคือผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทยกำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 322 ราย และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจำแนกตามกลุ่มสินค้าและตามภูมิภาค เป็นสัดส่วนกับขนาด ตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
ผลการศึกษา พบว่าเมื่อจำแนกตามกลุ่มสินค้าทั้งประเภทอุปโภคและบริโภคของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านความยากต่อการลอกเลียนแบบมีผลทางตรงต่อความสำเร็จทางการตลาด ส่วนความมีเอกลักษณ์ของสินค้า และด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นมีผลทางอ้อมต่อความสำเร็จทางการตลาด นอกจากนี้ยังพบว่า สำหรับสินค้าอุปโภคนั้น ด้านการขายได้ราคายังมีผลทางตรงต่อความสำเร็จทางการตลาดอีกด้วย เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมปัจจัยของแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุกด้านมีผลต่อความสำเร็จทางการตลาด ส่วนการศึกษาเรื่องปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับกลุ่มสินค้าบริโภค และอุปโภค พบว่าปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อความสำเร็จทางการตลาดคือ ปัจจัยด้านความต้องการสินค้า นอกจากนี้ยังพบว่า สำหรับสินค้าอุปโภคนั้น ปัจจัยด้านเทคโนโลยียังมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จทางการตลาดอีกด้วยแต่กลับมีผลทางอ้อมสำหรับสินค้าบริโภค ส่วนปัจจัยที่มีผลทางอ้อมได้แก่ด้านการท่องเที่ยว ทั้งสินค้าบริโภคและอุปโภคหากพิจารณาโดยภาพรวมทุกด้าน พบว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีผลต่อความสำเร็จทางการตลาด สำหรับการศึกษาปัจจัยของคุณลักษณะผู้ประกอบการพบว่า ระดับการ ศึกษา และประสบการณ์ทำงานของผู้ประกอบการมีผลต่อความสำเร็จทางการตลาดในทิศทางเดียวกัน
References
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2548, สิงหาคม). โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ [One Tambon One Product: OTOP]. สืบค้น 13 กันยายน 2553, จาก http://www.mfa.go.th
กัลยา แก้วมา. (2552). แนวทางการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิกของไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ชูวิทย์ มิตรชอบ. (2553). เศรษฐกิจสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในทศวรรษหน้า. เศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช, 5(1), 81-114.
ฐิติเทพ สิทธิยศ. (2553). ที่มาที่ไปและทำไมต้องเศรษฐกิจสร้างสรรค์. นักบริหาร, 30(1), 9-12.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร, จงพิศศิริรัตน์, ยุพาวดี สมบูรณกุล, เสาวณี จุลิรัชนีกร, และสมมาตร จุลิกพงศ์. (2550). คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้: ภาคการบริการ. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 2(1), 25-36.
รังสรรค์ ปิติปัญญา. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจชุมชนในประเทศไทย. ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 44(445), 13.
พรสรัญ รุ่งเจริญกิจกุล. (2548). ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ. การเงินธนาคาร, 24(275), 196-198.
ฑิตยา สุวรรณชฏ, ธำรง อุดมไพจิตรกุล, แสง สงวนเรือง, รัญจวน ประวัติเมือง, และจักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2545). การประกอบธุรกิจ: การจัดการและการวางแผนธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
Howkins, J. (2001). The Creative economy: How people make money from ideas. New York: AllenLane, The Penguin Press.
Hakhee Kim. (2007). The Creative economy and urban art clusters: Locational characteristics of art galleries in Seou. Journal of the Korean Geographical Society, 42(2), 258-279.
Knight, (2000). Entrepreneurship and marketing strategy: The SME under globalization. Journal of international marketing, 8(2), 12-32.
Nerkar, A., & Robert, P. W. (2004). Technological and product-market experience and the success of new product introductions in the pharmaceutical industry. Strategic Management Journal, 25, 779–799.
Nichter, S., & Goldmark, L. (2009). Small firm growth in developing countries. World development, 37(9), 1453-1464.
Riyanti, B. (2004). Factors influencing the success of small-scale entrepreneurs in Indonesia. International Association for Cross-Cultural Psychology. Retrieved 2012, February 21, from http://www.iaccp.org
Sang Hoon Kim, Kyung Hoon Yang, & Jae Kyung Kim. (2009). Finding critical success factors for virtual Community marketing. Serv Bus, 3, 149–171.
Teece, J. (1986). Profiting from technological innovation: Implications for integration collaboration, licensing and public policy. Research Policy, 15(6), 285-305.
UNCTAD. (2010). Creative Economy report 2010. Geneva: United Nation. UNESCO. (2005). International flows of selected cultural goods and services 1994-2003 (Research report). Canada: UNESCO Institute for Statistics.
Young, E.D. (2012). Finding upstate South Carolina’s consumers’ willingness to pay for local food with a price premium donation to local food banks. M.A.E. South Carolina: The Clemson University.
Zhen, Y. (2008). China’s Creative industries: Clusters and performances (Research report). UK: Department of Accounting Finance and Economics Bussiness school University of Herfordshire Hatfield Herts AL10 9AB.
www.thaitambon.com. (2010, September). OTOP. Retrieved September 2010, 13, from http://www.thaitambon.com/otop/info/Info1A.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น