การจัดกิจกรรมการเรียนรู้หัตถศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองและการมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้เกษียณอายุราชการ

ผู้แต่ง

  • สุรีวัลย์ ลิ้มพิพัฒนกุล สาขาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, ความพร้อมในการเรียนรู้, การมองเห็นคุณค่าในตนเอง, การชี้นำตนเอง, หัตถศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้หัตถศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองและการมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้เกษียณอายุราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้หัตถศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง และการมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้เกษียณอายุราชการ กระทรวงศึกษาธิการ

รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยทดลองเบื้องต้นแบบ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มที่ศึกษาคือ ข้าราชการเกษียณอายุของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง ปี พ.ศ. 2555 ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดการเปลี่ยนแปลงความรู้ 2) แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง 3) แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้หัตถศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองและการมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้เกษียณอายุราชการกระทรวงศึกษาธิการ ที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง ด้านการมองเห็นคุณค่าในตนเองและด้านหัตถศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหมด 5 กิจกรรมคือ กิจกรรมเปิดใจจึงได้ใจ กิจกรรมหนึ่งชีวีแสนมีค่า กิจกรรมสำหรับคุณคนที่มีความสุขที่สุดในโลก กิจกรรมอิฐสองก้อนกิจกรรมถังน้ำสร้างสรรค์ โดยจัดในรูปแบบของการฝึกอบรม ระยะเวลา 2 วันต่อเนื่อง 2) ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้หัตถศาสตร์ส่งผลให้ความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง การมองเห็นคุณค่าในตนเองและผลสัมฤทธิ์ด้านหัตถศาสตร์ภายหลังการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2546.
กรุงเทพฯ: เจ.เอส.การพิมพ์.
ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2552). การศึกษานอกระบบ: การเรียนรู้และการสอนผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัชชา ชินธิป. (2548). โหราศาสตร์กับการตัดสินใจทางธุรกิจ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ธนาคารกสิกรไทย. (2552). คนกรุงเทพฯ กับการใช้บริการหมอดู. สืบค้น 25 ธันวาคม 2556,
จาก http://www.tlcthai.com
นวลน้อย จิตธรรม. (2550). กิจกรรมมุ่งปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ
และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิไลรัตน์ รุจิวณิชย์กุล. (2524). การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้มารับบริการจากหมอดู: ศึกษาเฉพาะ
กรณีผู้มารับบริการจากหมอดูของสมาคมโหราศาสตร์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2552). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ:
ทีคิวพี.
รศรินทร์ เกรย, และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและ
สุขภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
รัตนะ ปัญญาภา. (ม.ป.ป.). โหราศาสตร์ในมิติแห่งพุทธศาสตร์. สืบค้น 15 ตุลาคม 2556,
จากhttp://www.philos.ubru.ac.th
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง. (2547). ผลการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อความพร้อมในการ
เรียนรู้แบบนำตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล (รายงานผลการวิจัย).
ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี.
Brockett, R.G., & Hiemstra, R. (1991). Self-direction in adult learning: Perspectives in
theory, research and practice. London: Routledge.
Brockner, J. (1988). Self-Esteem at work. Lexington M.A.: Lexington Book.
Coopersmith, S. (1984). SEI: Self-Esteem Inventories. California: Consulting
psychologists press, Inc.
Guglielmino, L. M. (1977). Development of the Self-directed Learning Readiness Scale
(Unpublished doctoral dissertation). Georgia: University of Georgia.
Havighurst, R. J. (1963). Successful aging. Processes of aging, 1, 299-320.
Kasworm, C.E. 1992. Proceedings of the Lifelong Learning Research Conference. College
Park, Maryland: University of Maryland
Kasworm, C. E. (1992). Adult learners in academic settings: Self-directed learning
within the formal learning context. In H. Long (Ed.), Self-directed learning:
Application and research (pp. 223-244) Norman, OK: Oklahoma Research Center
for Continuing Professional and Higher Education.
Knowles, M.S. (1975). Self- Directed learning: A Guide for learner and teacher.
Englewood Cliffs: Prentice Hall/Cambridge.
Knowles, M.S. (1978). The Adult learner: a neglected species (2nd ed.). Houston:
Gulf Pub.
Maslow, A.H. (1970). Motivation and personality. New York: Harper and Brother.
Oddi, L.F. (1987). “Perspectives on Self-Directed learning”. Adult Education Quarterly,
38(1987), 97-107.
Rosenberg, M. (1979). Conceiving the self. New York: Basic Books.
Sabbaghian, Z. (1980). “Adult Self-directedness and Self-concept: An Exploration
of relationship.” Dissertation Abstracts International, 40(January 1990), 3701-A.
World Health Organization. (1995). A Picture of health: A Review and annotated of the
health of young people in developing countries. Geneva: WHO

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-14