การรับรู้และเจตคติต่อแนวทางการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษ์ รุจิภักดิ์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เอมม่า อาสนจินดา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การรับรู้, เจตคติ, จริยธรรมวิชาชีพครู, จรรยาบรรณวิชาชีพ, พฤติกรรมเชิงจริยธรรม

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เจตคติในการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งพฤติกรรมเชิงจริยธรรมวิชาชีพครู จำแนกตามเพศและประสบการณ์ทำงาน และศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ และเจตคติในการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ครูระดับปฏิบัติการทั้งหมด 1,017 คน จาก 26 โรงเรียนทั่วประเทศ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบผสมผสานระหว่างการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มและการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการสำรวจพฤติกรรมเชิงจริยธรรมวิชาชีพครู ผลการศึกษาพบว่าครูในระดับปฏิบัติการได้รับความรู้ด้านประมวลจริยธรรมวิชาชีพจากหน่วยงานทั้งในและนอกสถานศึกษา แต่ก็มีครูบางกลุ่มที่ไม่มีความรู้ในเรื่องประมวลจริยธรรมวิชาชีพในเรื่องเจตคติต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพทั้งห้าด้านพบว่า มีระดับเจตคติอยู่ในระดับมาก ครูเพศหญิงมีเจคติต่อจรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการมากกว่าครูเพศชาย นอกจากนี้ครูที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 10 ปีมีระดับเจตคติต่อจรรยาบรรณวิชาชีพน้อยกว่าครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า ผลการศึกษาพบว่าเจตคติต่อแนวทางปฏิบัติตามจริยธรรมวิชาชีพทั้ง 5 ด้านมีอิทธิพลต่อระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมวิชาชีพครู ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ในประมวลจริยธรรมวิชาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมวิชาชีพ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ สถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะส่งเสริมความรู้ด้านจริยธรรมวิชาชีพ รวมทั้งสร้างความตระหนักต่อการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

References

กรมวิชาการ. (2541). แนวคิดการประกันคุณภาพครู. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

โกศล มีคุณ. (2533). การวัดจริยธรรม. ราชบุรี: วิทยาลัยครูจอมบึง.

ไกรนุช ศิริพูล. (2531). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: นิยมวิทยา.

จักรินทร์ ปัจฉิมมะ. (2545). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณครูของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ณรงค์ สิทธิประเสริฐ. (2537). จรรยาบรรณของครูผู้สอนในทรรศนะของข้าราชการครู: ศึกษาเฉพาะกรณี ข้าราชการครูสังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในประเทศและต่างประเทศ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้.

ดิเรก พรสีมา, และคณะ. (2541). การพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญผล.

ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2542). ความเป็นครู. ภูเก็ต: สถาบันราชภัฎภูเก็ต.

นัญจรงค์ เฉลิมพงษ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิพนธ์ แสนนางชน. (2548). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณครู ของครูในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

บุญศรี ทรัพย์เวชการกิจ. (2539). ความคิดเห็นของนักศึกษาผู้ใหญ่เกี่ยวกับจริยธรรมของครูผู้สอนการศึกษานอกโรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ปนัดดา วัฒโน. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เผยสถิติครูทำ ผิด โกงเงิน-ละเมิดทางเพศสูงสุด. (2553, 7 สิงหาคม). ไทยโพสต์, น. 19.

พรพรรณ ดวงปาโคตร. (2551). การปฏิบัติตามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 และความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูสังคมศึกษาที่สอนระดับ ช่วงชั้นที่ 3 ถึง 4 ใน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วริยา ชินวรรโณ. (2546). บทนำ: จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

วัชราพร ปุริมาตร์. (2544). ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2554). ความเป็นครู (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2552). กฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ข้อบังคับ ประกาศ). กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานวิชาชีพ.

อารมณ์ ฉนวนจิตร. (2554). การนิเทศการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Fallona, C. (2000). Manner in teaching: A study in observing and interpreting teachers’ moral virtues. Journal of Teaching and Teacher Education. 16, 681-695.

Skinner, B.F. (1971). Beyond Freedom and Dignity. New York: Knopf.

Wichianrat, T.Y. & Wata, C. (2011). A Model of ethics development for school teachers in Thailand. American Journal of Scientific Research. 28, 93-101

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15