ความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้แต่ง

  • นักรบ หมี้แสน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จารุวรรณ สกุลคู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อรรณพ โพธิสุข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุชาดา สุธรรมรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความผูกพัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความผูกพันต่อของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความผูกพันของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 3) สร้างสมการพยากรณ์ความผูกพันของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552–2554 จำนวน 307 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 120 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง .794 ถึง .941 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มี 7 ปัจจัย ดังนี้ บุคลิกภาพ (X3) ความสัมพันธ์กับอาจารย์ (X4) ความสัมพันธ์กับเพื่อน (X5) บรรยากาศการเรียนการสอน (X6) สิ่งอำนวยความสะดวก (X7) กิจกรรม วิชาการ (X8) และกิจกรรมนอกหลักสูตร (X9) ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับความผูกพันของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มี 6 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ บุคลิกภาพ (X3) บรรยากาศการเรียนการสอน (X6) กิจกรรมนอกหลักสูตร (X9) กิจกรรมวิชาการ (X8) สิ่งอำนวยความสะดวก (X7) และความสัมพันธ์กับอาจารย์ (X4) ซึ่งสามารถพยากรณ์ความผูกพันของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้ร้อยละ 66.10 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = .410+.260(X3)+.176(X6)+.163(X9) +.161(X8)+.106(X7)+.089(X4)

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .239(X3)+.211(X9)+.188(X8)+.183 (X6)+.130(X7)+.090(X4)

References

จรัส สุวรรณเวลา. (2539). รื้อปรับระบบสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวลิต หมื่นนุช. (2555, 6 สิงหาคม). ม.เอกชน ครวญยอดรับ น.ศ. หดเล็งปิดกิจการอื้อขายทิ้ง ต่างชาติ. มติชน, น.1, น. 15.

ธิดารัตน์ บุญนุช. (2543). การพัฒนากิจกรรมนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.

พินิติ รตะนานุกูล. (2555, 27 พฤศจิกายน). ห่วงยอดเรียนอุดมศึกษาลดฮวบ. มติชน, น .22.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2530). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2539). มิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 1: พื้นฐานและบริการนักศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัจฉรา วัฒนาณรงค์. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องการระดมเงินทุนของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Astin, A. (1968). The College Environment. Washington, DC.: American Council on Education.

_________. (1993). What Matters in College? : Four Critical Years Revisited. San Francisco: Jossey-Bass.

Beck, E. (1970). Perspective on World Education. Wisconcin: Wm. C. Brown Company.

Cochran, G.W. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Son.

Newcomb, M. (1962). Student Peer-Group Influence in Personality Factors on The College Campus. New York: Social Science Research Council.

Ryans, G. (1960). Characteristic of Teacher Manasha. George Benta Company.

Spady, G. (1971). Dropout from Higher Education: Toward an Empirical Model. Interchange, 2(3), pp.38-62.

Steers, M. & Porter, L.M. (1983). Employee Commitment to Organization in Motivation & Work Behavior. Third Edition. New York: McGraw-Hill Book Company.

Tinto, V. (1997, November/December). Classrooms as Communities: Exploring the Educational Character of Student Persistence. Journal of Higher Education, 68(6),599-623.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15