ความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • ศศิวิมล ภูมิแดง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี ปีการศึกษา 2555 จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) สถิติทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance)

ผลการวิจัยพบว่า

1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา ด้านมาตรการส่งเสริม ด้านการจัดการศึกษา และด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

2. ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

3. ครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรีโดยภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

คณาจารย์ภาควิชาการประเมินและการวิจัย. (2555). วิจัยและสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

นิติพงษ์ ยาวไธสง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้กับผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 2 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นุจรีย์ ศรีอาภัย. (2554). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพและการศึกษากุดพิมานหนองกราด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บันลือ พลมาลา. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ประคอง กรรณสูตร. (2537). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ศรีอยู่, จุไร โชคประเสริฐ, และอรสา โกศลานันทกุล. (2551). ปัญหาการประกันคุณภาพภายนอกของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 2(3), 1-10.

สหชัย วันทอง. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทงานวิชาการของผู้บริหารกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อารีญาภรณ์ ซารัมย์. (2554). ความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนลำปลายมาศ 8 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอกราช อะมะวัลย์. (2554). ศึกษาเรื่องการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนช่างฝีมือทหารในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15