ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของนักศึกษาในกรุงเทพฯและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ วัชราภรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, พฤติกรรมการเลือกสถาบันการศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของนักศึกษาในกรุงเทพฯและปริมณฑล” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และ 2.ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดของสถาบันอุดมศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1/2556 ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 9 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two Stages) ขั้นตอนแรกเลือกมหาวิทยาลัย และขั้นตอนที่สองเลือกนักศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับนักศึกษาซึ่งใช้ตัวอย่าง จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนขนาดกลาง เป็นเพศหญิงมากที่สุด ส่วนใหญ่มีเกรดเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ปกครองประกอบ อาชีพธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระมากที่สุด ส่วนใหญ่ระดับการศึกษาของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และรายได้ต่อเดือนของครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระหว่าง 20,001 - 50,000 บาท มีจำนวนสมาชิกภายในครอบครัวที่กำลังศึกษาต่อ จำนวน 1-2 คน มากที่สุด

2. ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามปัจจัยส่วนประสมการตลาด ทั้ง 4 ด้าน มีระดับความสำคัญมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือด้านการจัดจำหน่ายด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ

3. พฤติกรรมการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างกำลังเรียนสาขาการตลาด เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกศึกษาต่อเพราะต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บุคคลที่มีอิทธิพลในการเลือกสถาบันการศึกษามากที่สุดคือ ตัวของนักศึกษาเอง นักศึกษาตัดสินใจเลือกสถานศึกษาตั้งแต่เมื่อเรียน ม.6 หรือ ปวช. 3 แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการศึกษาได้มาจาก บิดา/มารดา/ญาติพี่น้อง มีวิธีการเลือกคณะที่เข้าศึกษาต่อเพราะเมื่อเรียนจบการศึกษาแล้วมีงานทำ มีวิธีการเลือกสถานที่ตั้งของสถาบันคือ ไม่สนใจว่าจะใกล้หรือไกลขึ้นอยู่กับความชอบและสามารถเช่าหอพักได้

4. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้แก่ อาชีพ บิดา/มารดา/ผู้ปกครอง ระดับการศึกษาของบิดา/มารดา/ผู้ปกครอง และรายได้ต่อเดือนของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านแหล่งเงินทุนหลักสำหรับใช้จ่ายในการศึกษา และพบว่าปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับสาขาที่เรียนและบุคคลที่มีอิทธิพลในการเลือกสถาบันการศึกษา

References

กนิษฐา สนเผือก. (2554). การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติมา แซ่แต้, นัฐสินี วงษ์นาค, และศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). ระบบการศึกษาไทยภายใต้กรอบเสรีแห่งอาเซียน:หนทางสู่การสร้างนวัตกรรมทางสังคม.สืบค้น 26 พฤศจิกายน 2555, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_10/pdf/aw21.pdf.

ปณิศา ลัญชานนท์. (2548). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

วัชรินทร์ จงกลสถิต. (2553). ปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรทันตแพทย์ศาสตรบัณฑิตกรณีศึกษาหลักสูตรทันตแพทย์ศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์,ศุภร เสรีรัตน์,ปริญลักษิตานนท์,องอาจ ปทะวานิช,ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์,อรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 -2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). ข้อมูลสถิติการศึกษา. สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.info.mua.go.th/information/index.php

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2551). การตลาด จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

American Marketing Association. (2008). About AMA: Definition of Marketing. Retrieved15 November 2013, from http://www.marketingpower.com/About AMA]

Kotler, P. (2009). Marketing Management. (13th ed). New Jersey: Prentice-Hell.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing Management. Upper Saddle River, N.J: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15