ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทยในเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • กาญจน์วจี ธนโชติรุ่งสาทิส คณะวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าว, โลจิสติกส์ด้านขนส่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโลจิสติกส์ด้านขนส่งในเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทย ในเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโลจิสติกส์ ด้านขนส่งกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทยในเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ และ 4) เพื่อศึกษาตัวแบบโลจิสติกส์ด้านขนส่งที่มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งออก หยง พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีกซื้อขายข้าวจากโรงสีข้าวหรือท่าข้าวในจังหวัดนครสวรรค์และผู้ประกอบการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ใน 15 อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยเชิงปริมาณได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 787 คน การวิจัยเชิง คุณภาพได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่สร้าง ขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ คาโนนิคอล (Canonical Correlation Analysis) และแสดงให้เห็นตัวแบบเส้นทาง (Path diagram)

ผลการวิเคราะห์รูปแบบโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทย พบว่า โลจิสติกส์ขนส่งทางราง มีการขนส่งอยู่ในระดับปานกลาง โลจิสติกส์ขนส่งทางน้ำมีการขนส่งอยู่ในระดับปานกลาง และโลจิสติกส์ขนส่งทางถนนมีการขนส่งอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทยในต้นทุนการขนส่งอยู่ในระดับมาก เวลาในการขนส่งอยู่ในระดับมาก และความน่าเชื่อถือในการขนส่งอยู่ในระดับมาก

ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation) พบว่า รูปแบบโลจิสติกส์ ขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ขนส่งทางถนนนั้น มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทยในด้านต้นทุนในการขนส่งเวลาในการขนส่ง และความน่าเชื่อถือในการขนส่ง (Canonical Correlation = 0.645)

ผลการวิเคราะห์โมเดลเส้นทางโดยใช้ (Path Analysis) พบว่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทยในเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศนั้น รูปแบบโลจิสติกส์ ขนส่งทางน้ำในด้านโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ ด้านจุดเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่นทางน้ำ และด้านประตูการค้า (Gate Way) ทางน้ำกับรูปแบบโลจิสติกส์ขนส่งทางถนนในด้านพาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางถนน ด้านจุดเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่นทางถนน ด้านประตูการค้า (Gate Way) ทางถนนและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขนส่งทางถนนส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทยในด้านต้นทุนการขนส่ง พิจารณาจากต้นทุนในการจัดเก็บและต้นทุนในการขนส่ง ด้านเวลาในการขนส่ง พิจารณาจากเวลาในการยกขนและด้านความน่าเชื่อถือในการขนส่งพิจารณาจากการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ส่งออก หยง พ่อค้าส่งและพ่อค้า ปลีกซื้อขายข้าวจากโรงสีข้าวหรือท่าข้าวในจังหวัดนครสวรรค์และลพบุรี รวมจำนวน 8 ท่าน โดยรวมพบ ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับการขนส่งข้าวทางถนนมากที่สุดเพราะมีโครงข่ายทางถนนมากมียาน พาหนะในการขนส่งหลากหลายรูปแบบ มีจุดเชื่อมโยงกับการขนส่งทั้งทางน้ำและทางราง มีประตูการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านและมีเทคโนโลยีในการขนส่งที่ทันสมัย โดยมีการขนส่งข้าวทางน้ำรองลงมา ส่วนประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวนั้น ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับต้นทุนในการขนส่ง ในด้านต้นทุนการจัดเก็บต้นทุนการยกขน ต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการบริหารจัดการและยังให้ความ สำคัญเรื่องเวลาในการขนส่งในด้านเวลาในการจัดเก็บเวลาในการยกขน เวลาในการเดินทางและเวลาในการตอบสนองการสั่งซื้อ รวมถึงความน่าเชื่อถือในการขนส่งในด้านการส่งมอบสินค้า การตอบสนองความต้องการของลูกค้าความเสียหายของสินค้าและการตีกลับของสินค้า

References

กระทรวงคมนาคม. สำนักงานปลัดกระทรวง. (2554). การศึกษาเพื่อเสนอนโยบาย แนวทางและมาตรการในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งตู้สินค้าระหว่าง ICD ลาดกระบังกับท่าเรือแหลมฉบัง จากการขนส่งทางถนนสู่การขนส่งทางรางในช่วงปี พ.ศ. 2554-2556. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2550). รายงานประจำปี 2553. สืบค้น 20 มิถุนยายน 2550, จาก http:ipc8.dip.go.th

ขุนทอง ลอเสรีวานิช. (2533, พฤษภาคม). กำนันทรงมีแต่ทรงกับทรุด. นิตยสารผู้จัดการ, สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2555, จาก http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=9926

บรมัตถ์พงษ์ พลเยี่ยม. (2552). การศึกษาต้นทุนและเวลาในการขนส่งข้าวรูปแบบต่างๆ : กรณีศึกษาเส้นทางการขนส่ง จังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชต ไกรเนตร. (2541). การขนส่งผู้โดยสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. (2551). บทความ. สืบค้น 25 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2550, จาก http://pongchai.blogspost.com/2007/08seven-rights-7.html

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. (2553). บทความ. สืบค้น 25 มิถุนายน 2555, จาก http://www:transportnews.co.th/index.php/breakthrough.html

วิทยา สุหฤทดำรง. (2554). เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่. นนทบุรี: สถาบันกรมพระจันทบุรีนฤนาท.

วุฒิพงษ์ โพธิ์ผา. (2548). การขนส่งข้าวในประเทศไทยเพื่อการส่งออก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สมชาย ชาญณรงค์กุล. (2554). วางระบบโลจิสติกส์สหกรณ์การเกษตรฯ เร่งถ่ายทอดความรู้เจ้าหน้าที่เสริมศักยภาพแข่งขันสหกรณ์ทั่วประเทศ. สืบค้น 9 มิถุนายน 2555, จาก http:www.biothai.net/news/9831

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10. สืบค้น 9 ตุลาคม 2556, จาก http://www.nesdb.go.th/?tabid=139

สำนักโลจิสติกส์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, กระทรวงอุตสาหกรรม. (2553). ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม. สืบค้น 17 สิงหาคม 2555, จาก http://logistics.dpim.go.th/article/listarticle.php?grpid=202

สุรศักดิ์ บุญสุขใจ. (2555). Logistics Thai of rice. สืบค้น 9 กันยายน 2555, จาก http://logisticsshairing.com/logistics/index.php?option=comcontent&view=aeticle&id=63&Itemid=128&limitstart=1

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2554). ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ทางด้านการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเกษตรกรไทย. สืบค้น 9 ตุลาคม 2556, จาก http://www.ftawatch.org/all/new/24441

Ballou, H. (1992). Business Logistics Management (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15