จริยธรรมในองค์กรและการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
จริยธรรม, องค์การ, วัฒนธรรม, ความผูกพัน, พนักงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาจริยธรรมในองค์กรและการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณจากตัวอย่างจำนวน 400 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t–test สถิติการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว สถิติความถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า
1. พนักงานที่มีลักษณะส่วนบุคคลด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กร ด้านความเชื่อมั่นและยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะคงความเป็นสมาชิกขององค์กรแตกต่างกัน
2. จริยธรรมในองค์กรด้านพฤติกรรมของผู้บังคับบัญชาและด้านนโยบายของบริษัท มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรในทางบวก
3. การรับรู้วัฒนธรรมองค์กร ทั้ง 3 ลักษณะ คือ ลักษณะสร้างสรรค์ ลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา และลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ทั้ง 3 ด้าน
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรากุล วสะพันธุ์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันองค์การ: ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท โอจิ เปเปอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ชุติพัณ สุวรรณะบุณย์. (2555). จริยธรรมในองค์กรธุรกิจกับความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2539). พฤติกรรมในองค์การ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พรทิพย์ เตชะอาภรณ์ชัย. (2543). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กร:กรณีศึกษาพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรนพ พุกกะพันธ์. (2545). จริยธรรมธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
พิภพ ชวังเงิน. (2546). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น (1997).
ภรณี (กีร์ติบุตร) มหานนท์. (2529). การประเมินประสิทธิผลขององค์กร. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.
อรัญญา สุวรรณวิก. (2542). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทยูคอมโดยมีจุดมุ่งหมายศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทยูคอม. ม.ป.พ.
อนันต์ชัย คงจันทร์. (2539). ความผูกพันต่อองค์การ. วารสารจุฬาธุรกิจปริทัศน์. 9: 34 - 39
Allen, N.J. & Mayer, J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology. 63: 1-18.
Lyman, W. P. (1974, December). Organizational Commitment, Job Satisfaction and Turnover Among Psychiatric Technicians. Journal of Applied Psychology. 59: 603 – 609.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น