ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่มีชื่อเสียงและกลยุทธ์การค้าปลีกที่มีผล ต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ, บุคคลที่มีชื่อเสียง, กลยุทธ์การค้าปลีก, การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบทคัดย่อ
การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่มีชื่อเสียง (Source Credibility) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อกลยุทธ์การค้าปลีก (Retailing Strategy) ศึกษาการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และศึกษาภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่มีชื่อเสียง (Source Credibility) และกลยุทธ์การค้าปลีก (Retailing Strategy) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน ซึ่งแบ่งตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม โดยการเลือกตัวอย่างของแต่ละกลุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยกลยุทธ์การค้าปลีก ด้านความหลากหลายของประเภทสินค้า ด้านนโยบายราคาและด้านส่วนประสมการสื่อสารการตลาด มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยด้านความ หลากหลายของประเภทสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ในทางบวกมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านนโยบายราคา และด้านส่วนประสมการสื่อสารการตลาด ตามลำดับ ปัจจัยภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่มีชื่อเสียง ด้านความดึงดูดใจ และความคล้ายคลึงกับกลุ่มเป้าหมาย มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยด้านความคล้ายคลึงกับกลุ่มเป้าหมายส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ในทางบวกมากที่สุดรองลงมา ได้แก่ ด้านความดึงดูดใจ
References
กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี และอรรณพ ดวงมณี. (2555). พฤติกรรมการช็อปปิ้งที่เปลี่ยนไป. สืบค้น 15 ธันวาคม 2556, จาก http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=160389:2012-12-21-05-46-26&catid=107:2009-02-08-11-34-25&Itemid=456
คนไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยสูงต่อเนื่องปี 55 ถึง 457.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ. (2556). สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.mcot.net/site/content?id=50ebf44d150ba023390001b2#.UdmmfzvddQg
ภาวิณี กาญจนาภา. (2554). การบริหารส่วนประสมการค้าปลีก และการจัดการเชิงกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัชฎา ศาลกลาง. (2547). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Celebrity Marketing. กรุงเทพมหานคร: Higher Press.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2550). โฆษณาโดยใช้ดารา การศึกษาความสอดคล้องของภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือของดารา และประสิทธิผลในการโฆษณา. (ดุษฎีนิพนธ์). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สิตานัน สิทธิกิจ. (2548). การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์แว่นตาโอ๊คลี่ย์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุธิศา โสมะบุตร์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
แนะเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพร. (2554). สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2556, จากhttp://www.thannews.th.comindex.php?option=com_content&view=article&id=62217:2011-04-05-10-16-08&catid=87:2009-02-08-11-23-26&Itemid=423.
Clow, K. E. & Baack, D. E. (2007). Integrated Advertising, Promotion and Marketing Communications. (3rd edition). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Fill, C. (2002). Marketing communications: Contexts, strategies and application. (3rd edition). Harlow: Pearson Education.
Michael, L. & Barton, W. (2007). Retailing management. (6th edition). Boston: McGraw-Hill/Irwin.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น