รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของรายการธรรมะในโทรทัศน์ไทย
คำสำคัญ:
รายการธรรมะ, รูปแบบรายการโทรทัศน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของรูปแบบการนำเสนอเนื้อหารายการธรรมะที่ออกอากาศในโทรทัศน์ไทย ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (Textual Analysis) ของรายการธรรมะ ด้วยแนวคิดและทฤษฎีดังต่อไปนี้ แนวคิดการผลิตรายการโทรทัศน์ แนวคิดการเล่าเรื่องและแนวคิดการเผยแผ่ธรรมะในพระพุทธศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของรายการธรรมะทั้ง 5 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบ บรรยาย รูปแบบสัมภาษณ์ รูปแบบการ์ตูน รูปแบบละครและรูปแบบสารคดี มีทั้งความเหมือนกันและความแตกต่างกันกล่าวคือ มีแก่นเรื่อง (Theme) เหมือนกัน โดยรายการธรรมะทั้ง 5 รูปแบบ ต้องการนำเสนอหลักธรรมะซึ่งเป็นคำสอนจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อปลูกฝังแนวคิดธรรมะในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แต่ที่แตกต่างกัน คือ 1.การนำเสนอเนื้อหาคือ รายการธรรมะรูปแบบบรรยายและรูปแบบสัมภาษณ์เป็นการนำเสนอเนื้อหาด้วยการบรรยาย การพูดคุย การสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอน และหลักปฏิบัติมีจุดเด่นอยู่ที่ผู้ดำเนินรายการคือพิธีกรและพระภิกษุสงฆ์ ส่วนรายการธรรมะที่นำเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูน รูปแบบละครและรูปแบบสารคดี เป็นการสอนธรรมะแบบสาระบันเทิง มีการนำเสนอเนื้อหาด้วยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป และสอดแทรกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เข้าไปในเนื้อเรื่อง ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อน 2.ตัวละคร ในรายการธรรมะรูปแบบบรรยายและรูปแบบสัมภาษณ์ มีการเล่าเรื่องโดยพิธีกรและพระภิกษุสงฆ์ ดำเนินรายการด้วยการบรรยายธรรมหรือการเทศน์หลักธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจเฉพาะกลุ่มที่มีพื้นฐานของธรรมะอยู่แล้ว อาจทำให้ขาดความน่าสนใจในกลุ่มวัยรุ่น ส่วนรายการธรรมะที่นำเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูน รูปแบบละครและรูปแบบสารคดี จะมีการเล่าเรื่องโดยใช้ตัวละครและพิธีกรแสดงให้ผู้ชมได้เห็นการกระทำและ ผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้เข้าใจหลักธรรมได้ง่าย 3.ภาพและเสียง ในรายการธรรมะรูปแบบบรรยายและรูปแบบสัมภาษณ์ มีการนำเสนอด้วยภาพที่มีลักษณะการวางกล้องตายตัว ไม่มีการเคลื่อนย้ายมุมภาพ เพื่อต้องการเน้นลักษณะของผู้บรรยายธรรมหรือการสนทนาธรรม แต่ลักษณะการถ่ายภาพดังกล่าวทำให้ภาพดูนิ่งไม่มี ความเคลื่อนไหวทำให้ขาดความน่าสนใจ ส่วนรายการธรรมะรูปแบบการ์ตูน รูปแบบละครและรูปสารคดี มีการสร้างสรรค์การถ่ายทำด้วยมุมภาพขนาดต่างๆ เพื่อแสดงอารมณ์ของตัวละคร มีกระบวนการการตัดต่อ และลำดับภาพที่ทันสมัย เล่าเรื่องด้วยภาพที่มีความสวยงามและเสียงที่หลากหลาย ทั้งเสียงบรรยายเสียงการสนทนาของผู้ดำเนินรายการ เสียงดนตรีบรรเลงและเสียงประกอบเน้นให้ภาพและบรรยากาศ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นส่งผลให้เกิดความน่าสนใจ และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้ชมติดตามชมรายการ
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
กาญจนา แก้วเทพ และทิฆัมพร เอี่ยมเรไร. (2554). การสื่อสารกับศาสนา กีฬา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราพร เนติธาดา. (2542). วิธีถ่ายทอดธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัชฎาภรณ์ ศิลปสุนทร. (2546 ). บทบาทของโทรทัศน์ในการเผยแพร่ศาสนาภายหลังการปฏิรูปสื่อในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, นิคม ทาแดง และไพบูรณ์คะเชนทรพรรค์.(2547).ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีการจัดการการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญชอบ เริงทรัพย์. (2520). อุปมา อุปไมย ในพระไตรปิฎก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วสี. (2526). พุทธธรรมกับสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2530). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). การสื่อสารเพื่อถึงสัจธรรม. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พรทิพย์ ลิมปิชัยโสภณ. (2549). การวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องผ่านรายการถึงลูกถึงคนทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทราวดี ธีเลอร์. (2556). กรณีศึกษาเรื่องบาปบุญที่สะท้อนผ่านละครไทย, วารสารนักบริหาร, 33(3), 60-65.
มาโนช ดินลานสกูล. (2547). การอ่านและการเขียนบันเทิงคดี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุจินตนินท หนูชู. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล. วารสารสุทธิปริทัศน์, 86(28), 234-255.
อานันตพร จินดา. (2549). กลยุทธิ์การสร้างสาระและการเล่าเรื่องในงานเขียนอิงธรรมะของดังตฤณ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี ถิรเนตร. (2543). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โอฬาร เพียรธรรม. (2549) ตามหาความจริง: วิทยาศาสตร์กับพุทธธรรม ศาสตร์ที่เป็นคนละเรื่องเดียวกัน. กรุงเทพฯ: ธรรมดา.
Lass well, H. D. (1984). The Structure and Function of Communication in society: In The communication of Ideas.(37) Edited by L. Bryson. New York: Harper & Brothers
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น