ดัชนีความอยู่ดีทางเศรษฐกิจของครัวเรือนในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
ดัชนีความอยู่ดีทางเศรษฐกิจบทคัดย่อ
บทความนี้ประเมินสภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยการสร้างดัชนีชี้วัดอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อมูลทั่วไปคือ ด้านรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน นอกจากนี้ยังสำรวจรูปแบบการถือครองสินทรัพย์ของครัวเรือนชุมชนในพื้นที่มาบตาพุด และประยุกต์เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรพหุเชิงพรรณนา เพื่อสร้างดัชนีวัดความอยู่ดีทางเศรษฐกิจของครัวเรือนในชุมชนดังกล่าว
การวิเคราะห์มี 2 ส่วนคือ วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis: PCA) และวิธีวิเคราะห์ความสอดคล้องเชิงพหุ (Multiple Correspondence Analysis: MCA) ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว MCA เป็นวิธีการที่ขยายจาก PCA ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรสินทรัพย์ของครัวเรือนที่มีลักษณะมากกว่า 1 กลุ่ม
การพิจารณาการถือครองสินทรัพย์ของครัวเรือนมี 4 กลุ่มคือ 1) กลุ่มสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและระบบสาธารณูปโภค 2) กลุ่มสินทรัพย์คงทน 3) กลุ่มสินทรัพย์เพื่อการลงทุน และ 4) กลุ่มสินทรัพย์ที่เป็นทุนมนุษย์ การใช้เทคนิค PCA และ MCA สร้างดัชนีสินทรัพย์จากข้อมูลจำนวน 253 ครัวเรือนชี้ให้ เห็นว่า นอกเหนือจากดัชนีสินทรัพย์ในกลุ่มทุนมนุษย์ ดัชนีสินทรัพย์ที่สร้างโดยวิธี PCA มีระดับของความสัมพันธ์กับรายได้ของครัวเรือนที่มากกว่าดัชนีที่สร้างด้วยวิธี MCA นอกจากนี้ดัชนีสินทรัพย์ที่สร้างขึ้น จากทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับรายได้รวมของครัวเรือน ทำให้ดัชนีสินทรัพย์ที่สร้างขึ้นสามารถเป็นตัวแปรนโยบายในลักษณะทดแทน หรือประกอบกับตัวแปรอื่นๆ ในการวัดสภาพความเป็นอยู่ทางสังคมและเศรษฐกิจของครัวเรือนในพื้นที่ดังกล่าวได้
References
กมล สนิทธรรม. (2549). การวิเคราะห์การสมนัยพหุคูณและการประยุกต์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์. (2550). วิธีการสร้างดัชนีวัดสถานภาพเศรษฐกิจสังคม. การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ, สมาคมนักประชากรไทย. รายละเอียดจำนวนประชากร ชุมชน เทศบาลเมืองมาบตาพุด. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2554. จาก,
วรชัย ทองไทย. (2550). ทรัพย์สินครัวเรือนใช้วัดฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนได้จริงหรือ. การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ. สมาคมนักประชากรไทย.
ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2553). การสร้างดัชนีสินทรัพย์ของครัวเรือนไทย กรณีศึกษา รูปแบบการถือครองสินทรัพย์ของครัวเรือนไทย ปี 2008. บทความที่นำเสนอในการประชุมทางวิชาการศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ด้านตลาดการเงินไทย ครั้งที่ 18. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). รายงานการศึกษา
เบื้องต้น ประชากรแฝงในพื้นที่จังหวัดระยอง.
Abdi H. and Dominique Valentin. (2007). Multiple Correspondence Analysis, in: Neil
Salkind (Ed.) (2007). Encyclopedia of Measurement and Statistics.
Thousand Oaks (CA): Sage.
Booysen F., S. V. D. Berg, R. Burger, M. V. Maltitz, and G. D. Rand. (2008).
Using and asset index to assesstrends in poverty in seven Sub Saharan
African countries, World Development 36(6), 1113-1130.
Howe, L., J.R. Hargreaves, and S. RA. Huttty. (2008). Issue in the construction of
wealth indices for the measurement of socio-economic position in low-income
countries. Emerging Themes in Epidemiology 5(3).
Phusit Prakongsai. (2006). An application of asset index for measuring household
living standards in Thailand. Available at SSRN: http://ssrn.com/abstract=1080909
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น