การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการน้ำหลังการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดตามแนวพระราชดำริ
คำสำคัญ:
ถ่ายทอดเทคโนโลยี, ระบบพืชกรองน้ำเสีย, การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดบทคัดย่อ
จากปัญหาการเลี้ยงกุ้งด้วยน้ำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืด เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการระบายน้ำทิ้งหลังการเลี้ยงกุ้งออกสู่พื้นที่สาธารณะที่ขาดการจัดการอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้ประโยชน์จากดินและน้ำ ผู้วิจัยจึงสนใจทำการวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของเกษตรกรและพื้นที่เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำหลังการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการน้ำหลังการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดตามแนวพระราชดำริ และประเมินรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยลงพื้นที่พบเกษตรกรบริเวณฟาร์มเลี้ยงกุ้งในเขตที่ราบลุ่มภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถาม (2) สาธิตการทดลอง โดยใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ ด้วยระบบพืชกรองน้ำเสีย
ผลการวิจัย สรุปได้ว่า เกษตรกรนิยมเลี้ยงกุ้งขาวเป็นการเลี้ยงแบบพัฒนา ที่ระดับความเค็มของน้ำประมาณ 3 ส่วนในพัน หลังการเลี้ยงส่วนใหญ่จะปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่มีการจัดการ ส่วนฟาร์มที่มีการจัดการน้ำทิ้งจะใช้วิธีการขังน้ำไว้ในบ่อพักให้ตกตะกอนก่อนปล่อยน้ำทิ้ง เกษตรกรมีความรู้ด้านการแก้ปัญหาการแพร่กระจายความเค็มตามวิถีชุมชน แต่ขาดความรู้ด้านการจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ และเกษตรกรมีความต้องการการถ่ายทอดเทคโนโลยี การบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริด้วยระบบพืชกรองน้ำเสีย โดยวิธีการสาธิตการทดลอง เพราะได้รับประสบการณ์ตรงในเชิงรูปธรรมอย่างชัดเจนตามขั้นตอน สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามได้ด้วยตัวเอง และเกษตรกรมีทัศนคติที่ดีมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลการสาธิตการทดลองน้ำมีความเป็นกรดและด่างอยู่ในช่วงระหว่าง 6.5-8.5 ความเค็มไม่เปลี่ยนแปลง ค่าบีโอดี คุณภาพน้ำดีขึ้นร้อยละ 73.65 สารแขวนลอยคุณภาพน้ำดีขึ้นร้อยละ 44.13 แอมโมเนีย คุณภาพน้ำดีขึ้นตรวจไม่พบ (Not Detected) ฟอสฟอรัสรวม คุณภาพน้ำดีขึ้นร้อยละ 27.18 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ คุณภาพน้ำดีขึ้นร้อยละ 83.72 ไนโตรเจนรวมคุณภาพน้ำดีขึ้นร้อยละ 5.09
References
กรมควบคุมมลพิษ, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. (2549). เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์.
กรมประมง และ Danish Cooperation for Environmental and Development. (2543). การพัฒนาเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเลแบบพัฒนา. เอกสารประกอบการฝึกอบรมโครงการเลี้ยงกุ้งยั่งยืน, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมวิชาการ, กองวิจัยทางการศึกษา. (2542). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ :คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2535). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน.
_______(2545). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
เกรียงไกร แก้วสุรลิขิต. (2537). การใช้สาหร่าย Gracilaria fisheri (Xia & Abbott) Abbott, Zhang & Xia ช่วยลดปริมาณแอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรทและฟอสเฟต ในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกษม จันทร์แก้ว. (2541). เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. โครงการสหวิทยาการบัณฑิต, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณิต ไชยาคำ, และดุสิต ตันวิไลย. (2535). การทดลองใช้หอยแมลงภู่และสาหร่ายผมนางเพื่อบำบัดน้ำทิ้งทางชีวภาพจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 6/2535. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรุงเทพฯ : กรมประมง.
คณิต ไชยาคำ, สิริ ทุกข์วินาศ, ยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร, พุทธ ส่องแสงจินดา, และดุสิต ตันวิไลย. (2537). คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง.
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2545) การประยุกต์เทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสีย ตามแนวพระราชดำรัสท้องถิ่น. [เอกสารประกอบโครงการเผยแพร่ความรู้]. กรุงเทพฯ : หจก. พรี-วัน.
ชะลอ ลิ้มสุวรรณ. (2543). กุ้งไทย 2000 สู่ความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : เจริญรัฐการพิมพ์.
ชาตรี วีระสิทธิ์. (2543). การเปลี่ยนแปลงปริมาณแบคทีเรียบางชนิดในดินพื้นบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่บำบัด โดยวิธีคราดพรวน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดิเรก ทองอร่าม. (2528). ความสัมพันธ์ระหว่าง ดิน น้ำ และพืช. เอกสารการสอนชุดวิชาเกษตรทั่วไป 4 : ดิน น้ำ และปุ๋ย เล่มที่ 1 หน่วยที่ 4 สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดิเรก ทองอร่าม, สิน พันธุ์พินิจ, และศศิธร ชุตินันทสกุล. (2546). เทคโนโลยีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เอกสารประกอบการสอนระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การจัดการเทคโนโลยีคณะการจัดการเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. (2531). ระบบน้ำและของเสียในบ่อกุ้ง. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท, และก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2546). การจัดการสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : วังอักษร.
ดุสิต ตันวิไลย, และสิริ ทุกข์วินาศ. (2534). การศึกษาแนวทางการบำบัดน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนา ด้วยการเลี้ยงอาร์ทีเมีย. เอกสารวิชาการฉบับที่ 6/2534. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ : กรมประมง.
ดุสิต ตันวิไลย, คณิต ไชยาคำ, ยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร, และเชาว์ ศรีวิชัย. (2537). การตรวจและติดตามคุณภาพน้ำและดินจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จังหวัดปัตตานี. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 5/2537, สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรุงเทพฯ : กรมประมง.
ธัญญนันท์ สุนทรมังคโล. (2547). ผลของปริมาณการเปลี่ยนถ่ายน้ำต่อคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนในกุ้งกุลาดำด้วยน้ำความเค็มต่ำ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การประมง) คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธวัชชัย วิสมล. (2538). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้าน ศึกษากรณีอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วิทยาลัยการปกครอง. กรุงเทพฯ : กรมการปกครอง.
นภดล ค้าขาย, และสรณัญช์ จำปาศรี. (2551). การเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบบำบัดน้ำชีวภาพ. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง. กรมประมง. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
นิพนธ์ จินดารักษ์. (2536). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์, มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล.
บรรจง วรรธนะพงษ์, และอเนก ก้านสังวาน. (2543). การออกแบบระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย. ในรายงานการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์การกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 24-25 สิงหาคม 2543. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปภาวี จรูญรัตน์. (2546). การจัดการสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ.
ประสพสุข ดีอินทร์. (2531). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรเทพ เนียมพิทักษ์. (2547). การบำบัดน้ำทิ้งและตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodonFabricius) ระดับห้องปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชิต สุขเจริญพงษ์. (2544). การควบคุมคุณภาพเชิงวิศวกรรม. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พิสิฏฐ์ บุญไชย. (2528). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ของกรรมการสภาตำบล ศึกษาเฉพาะกรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมบัณฑิตวิทยา, มหาวิทยาลัยมหิดล.
พุทธ ส่องแสงจินดา, และดุสิต ตันวิไลย. (2536). มวลสารที่ปล่อยออกจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 15/2536. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งกรมประมง.
ภิญโญ เกียรติภิญโญ. (2545). วิธีปฏิบัติสำหรับการเลี้ยงกุ้งขาว แอล. แวนนาไม. กรุงเทพฯ.
ยนต์ มุสิก. (2530). กำลังผลิตชีวภาพในบ่อปลา II. เอกสารประกอบการสอนวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 551. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุทธ ไกยวรรณ. (2545). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
รักชาติ วัฒนาประชากุล. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสวนป่ากลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มติชน.
ลือชัย ดรุณชู. (2534). การทอลองเลี้ยงสาหร่ายทะเลในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเล. เอกสารวิชาการ เลขที่ 4/2534. ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจันทบุรี, กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรมประมง.
วลัยภรณ์ ดาวสุวรรณ. (2533). การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบึงขุนทะเล. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม. (2545). โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วารสารสิ่งแวดล้อม มก. กรุงเทพฯ : ส. พิจิตรการพิมพ์.
วิทย์ ธารชลานุกิจ, เดชา นาวานุเคราะห์, จารวี เอียดสุย, เศกสรรค์ สิทธิหา, และยุพเยาว์ โตคีรี. (2542). การศึกษาปริมาณโลหะหนักในปลาน้ำจืด 3 ชนิด ที่เลี้ยงในบ่อบำบัดน้ำเสียโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี. รายงานการสัมมนาเรื่อง เทคโนโลยีการกำจัดขยะแบบประหยัดและการบำบัดน้ำเสียด้วยพืช. 25 - 28 สิงหาคม 2542. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตร. คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง สารสนเทศท้องถิ่นกับการพัฒนาการศึกษา วันที่ 24 -25 กรกฎาคม 2546. มหาสารคาม : คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีระศักดิ์ เลิศทัศนีย์. (2544). กระบวนการได้มาซึ่งเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์. (2552). ระบบบำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ท้อป.
สามารถ จันท์สูรย์. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : มูลนิธิปัญญา.
สิน พันธุ์พินิจ. (2552). การแพร่กระจายนวัตกรรม. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
______.(2552). การจัดการเทคโนโลยี. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
สุภาพร จันรุ่งเรือง, และพิสบุษ์ จัตวาพรวนิช. (2535). ศึกษาศักยภาพการใช้ธูปฤาษีในการบำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รวมสาส์น.
สุวรรณี คงทอง. (2536). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนในท้องที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.พี. กราฟฟิค แอนด์ พรินติ้ง จำกัด.
โสภณ อ่อนคง, และชูสินธุ์ ชนะสิทธิ์. (2542). แนวทางการจัดการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้ง กุลาดำแบบพัฒนา. ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสตูล. กรุงเทพฯ : กรมประมง.
ศิริวรรณ คิดประเสริฐ. ( 2538). การใช้สาหร่ายทะเลช่วยลดปริมาณสารประกอบไนโตรเจนในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
องค์การจัดการน้ำเสีย. (2553). วิธีบำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพฯ : บริษัท โฆษขลังมลังเมลือง จำกัด.
อรชร สมสะอาด. (2538). การศึกษาระดับและปัจจัยที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการธนาคารข้าว : กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยมหิดล.
อบเชย แก้วสุข. (2543). รายงานผลการดำเนินงานประชุมปฏิบัติการการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเผยแพร่ความรู้ของสื่อมวลชน. อุบลราชธานี : ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
อารีย์ สิทธิมังค์. (2530). เอกสารประกอบคำบรรยายเรื่อง วิวัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
อนันต์ ตันสุตพานิช. (2538). การเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดหรือระบบรีไซเคิล. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดเพชรบุรี, กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรุงเทพฯ : กรมประมง.
อนันต์ ตันสุตพานิช, ธนัชน์ สังกรธนกิจ, สุพิศ ทองรอด, และเจริญ โอมณี. (2539). การศึกษาแนวทางการฟื้นฟูการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี, กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรุงเทพฯ : กรมประมง.
Boyd, C.E. (1970). Vascular aquatic plants for mineral nutrients removal from polluted water. Econ. Bot.
Boyd, C.E. (1992). Shrimp pond bottom soil and sediment management. In Proceedings of the Special Session on Shrimp Farming. World Aquaculture Society, Baton Rouge, Louisiana, USA.
Boyd, C.E. and D. Gautier. (2000). Effluent composition and water quality standards implementing GAA’s Responsible Aquaculture Program. The Advocate.
Caayaupan, R.B. (1985). Participation Approach: A Must in Rural Development. Occasional Paper Series on Community Management Volume 1, November 1, December 1985.
Enander, M. and M. Hasselstrom. (1994). An Experimental Waste Water Treatment System for a Shrimp Farm. Infofish International.
Jain, R. K.,& Triandis, HC. (1990). Management of R&D organizations. Wiley Interscience, New York.
Lucas. L.M. (2006). The role of culture on knowledge transfer : the case of the multinational corporation. The learning Organization, 13(3), 257-275. Avariable form<http://ariel.emeraldinsight.com10.110809696470610661117> (2006.May 3).
Musig, Y., W. Ruttangosrigit, S. Sumpawapol and C.E. Boyd. (1995). Effluents from intensive culture ponds of tiger prawn (Penaeus monodon Fabricius). Kasetsart University Fisheries Bulletin N0.21 pp17-24.
Paez – Osanu, F, S.R. Guerrero-Galvan, A.C.Ruiz-Femandez and R.Espinoza-Angulo. (1997). Fluxes and mass balance of nutrients in a semi-intensive shrimp farm in North-Western Maxico, (34)5, 290-297.
Pratt, D.C., V. Bommewell, N.J. Andrews and J.H. Kim. (1980). The potential of cattails as an energysource: Report to Minnesota Energy Agency. Bio-Energy Coordinating Office, University Minnesota, St. Paul Minn.
Slocum. Rachel and Thomas-Slayler, Barbara. (1995). Parcipitation, empowerment and sustainable development. In Slocum, Rachel et.al., ed .Power, process and Parcipitation- Tools for Change. London: Intermediate Technology publication Ltd.
Teichert - Coddington, D.R., Rouse,D.B.,Potts, A. and Boyd, C.E. (1999). Treatment of harvest discharge from intensive shrimp farm ponds by setting. Aquaculture Engineering.
Tookwinas, S. and P. Neumhom. (1995). Experiment on coagulation of Intensive Marine Shrimp Farm Effluent. P. Wuthisiu and N. Otawa, editors. International Seminer on Marine Fisheries Environment, March 1995, Rayong, Thailand, The Cosmic Pub., Com. Ltd., Bangkok Thailand.
Tookwinas, S. and T. Thiraksapan. (1997). Application of Green Mussel (Perna viridis) in Biological Treatment of Effluents from an Intensive Marine Shrimp Farm. Phuket Marine Biological Center Special Publication.
Troell, M., P. ronnback, C. Halling, N. Kautsky and A. Buschmann. (1999). Ecological Engineering in aquaculture : use of seaweeds for removing nutrients from intensive mariculture. J. appl. Phyco.
U.S. Salinity Laboratory Staff. (1954). Diagnosis and Improvement of Saline and Alkali Soil, Agric. Hanbook. Dept. of Agric, Washington. D.C. USA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น