การบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ณรินทร์ ชำนาญดู สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา, นักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ปัจจัยของการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) แนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจำนวน 19 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 18 เขต สำนักงานศูนย์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด จำนวน 19 จังหวัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 19 จังหวัด โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 833 โรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 2,609 โรงเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนจำนวน 514 โรงเรียน และศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จำนวน 333 อำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถามความคิดเห็น 3) แบบสอบเพื่อตรวจสอบและยืนยันแนวทางที่เหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยการทดสอบค่าที (t - test) และค่าเอฟ (F - test one way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยของการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 12 ด้าน คือ 1)การบริหารจัดการศึกษา 2)การวัดและประเมินผล 3) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 4)คุณลักษณะของผู้บริหาร 5)การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6)หน่วยงานที่ รับผิดชอบ 7)สถานที่จัดการศึกษา 8)การมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ 9)วิธีการจัดการศึกษา 10)ระยะเวลาในการจัดการศึกษา 11)ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 12)งบประมาณ

2. พบแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 788 แนวทาง และผลการตรวจสอบแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีความเหมาะสมกับบริบทเป็นไปได้ในการนำไปใช้มีความถูกต้องเชิงทฤษฎีและเป็นประโยชนต่อการนำไปพัฒนาสถานศึกษา

References

ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2551). บทบาทประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. The city Journal, ปีที่ 4(85) ( 1-15 มี.ค.): 30.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2556, จาก http://www.onec.go.th/ubliccation/tera/tera.pdf

ประภัสรา เทพศาสตรา. (2553). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดโรงเรียนเทศบาล จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). การส่งเสริมชุมชนและท้องถิ่นในการปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2554, จาก http://www.google.com.au/search?=cache:DSaXoZZWLDMJ:area.bed.go.th

ปิยะพร เมืองใจ. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรรณี เสี่ยงบุญ ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง, และศักดิ์พงศ์ หอมหวล. (2554). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนบ้านหนองบัวคู อำเภอนาดูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1) .109-120.

พิมพรรณ สุริโย ยุพร ริมชลการ, และภิญโญ มนูศิลป์. (2548). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2556 จาก http://www.loeicity.go.th/ed_04_01.doc

พิษณุ ก่อเกียรติยากุล. (2543). รูปแบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในเขตการศึกษา 2. ม.ป.ท. : สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตการศึกษา

รัตน์จำเรียง เพชรแก้ว. (2545). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนกับบรรยากาศ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย,

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (เล่ม124 ตอนที่ 47ก), 15.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2543). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

___________________.(2541). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : บริษัท เลิฟ แอนด์ ลินเพลส์ จำกัด.

วิโรจน์ สุรสาคร. (2550). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภชัย โถบำรุง. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2546). นโยบายสาธารณะ แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

สมบัติ ฤทธิเดช ประสพสุข ฤทธิเดช, และจีระนัน เสนาจักร. (2554). แหล่งเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการเสริมสร้างการเรียนรู้แบบทางเลือกของเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1) (ม.ค.-เม.ย.).

สัญญา พันธไชย. (2545). ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). สถิติการศึกษา ปี 2551 – 2553. สืบค้นเมื่อ7 ธันวาคม 2554, จาก http://data.bopp-obec.info/emis/

__________________________________________.(2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2548). สานฝันด้วยการคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2555). เด็กนอกระบบ. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2554, จาก http://www.drsuthichai.com.

สุวิทย์ จันทร์คงหอม. (2548). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาในสำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารยะ ม่วงนนทศรี. (2541). การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Benson, Barbara P. and Spence Rogers. (2002). How to Meet Standards, Motivate Students, and Still Enjoy Teaching : Four Practices that Improve Student Learning. California : Corwin Press.

Bull, Harry Clinton Jr. (1998). High School Administrator Perception of their Comfort Levels with the Law of Safe School. Dissertation Abstracts International. 59,32 (September): 699-A.

Daft, Richard L. 1986. Organization Theory and Design. (2nded.). New York: West Publishing.

Dobizl, J.K. (2002). Understanding At – Risk Youth and Intervention Programs that Help them Succeed in School. Research Paper University of Wiscousin – Strout.

Geiffith, Daniel E. (1959). Administrative Theory. New York: Appleton – Century – Crofts. Huse, Edgar F. (1980). Organization Development and Change. 2nded. New York : West Publishing.

Kijai, Jimy. (1959). school : Effectiveness characteristics and school incentive reward. Dissertation Abstracts International. 48, 4 (October): 829 - A.

Lewis, Adum N. (1984). Instructional Leadership styles of effective elementary School Principals in Texas. Dissertation Abstracts International. 45, 3 (September): 709-A.

Miller, Van. (1965). The Public administration of American School. New York: Macmillian Publishing Company.

Piirto, Jane. (2007). Talented Children and Adults : Their Development and Education. 3rd ed. Texas : Prufrock press Inc..

Smith, Cecil. M. (1990). The Relationship of Adult’s Reading Attitude to Actual Reading Behavior. Reading Improvement, 27, 2 (November): 18 - 25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15