กลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาปฐมวัยในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาปฐมวัย.บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานศึกษาการดำเนินงานที่มีความเป็นเลิศ และพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาปฐมวัยในจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ 2) ศึกษาการดำเนินงานของสถานศึกษาปฐมวัยที่มีความเป็นเลิศ โดยการสัมภาษณ์และการสังเกต และ 3) พัฒนากลยุทธ์ โดยการจัดทำ SWOT Analysis TOWS Matrix จัด Focus Group และประเมินกลยุทธ์และการนำกลยุทธ์ไปใช้
ผลการศึกษาพบว่า สภาพการดำเนินงานด้านวิชาการส่วนมากใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ การจัดตารางสอนเป็นการจัดตารางกิจกรรมพัฒนาเด็ก 4 ด้าน ด้านกิจการนักเรียนเน้นกิจกรรมฝึกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ด้านบริหารงานบุคคลเน้นครูมีคุณวุฒิด้านปฐมวัย ด้านธุรการ การเงินและพัสดุ จัดตามระเบียบราชการ เงินรายได้ส่วนใหญ่จากงบอุดหนุนรายหัวและเงินจากต้นสังกัด ด้านอาคารสถานที่มีเพียงพอ เน้นความสะอาด สวยงาม ร่มรื่นและปลอดภัย ส่งเสริมให้ผู้ปกครองช่วยเหลือโรงเรียนในเรื่องการพัฒนาเด็ก ด้านบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี
เมื่อได้สภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาปฐมวัยแล้วทำการสัมภาษณ์ และสังเกตสถานศึกษาปฐมวัยที่มีความเป็นเลิศ ได้ข้อมูลและสภาพการดำเนินงาน เพื่อนำไปพัฒนากลยุทธ์ตามขั้นตอนการวิจัยได้กลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศ 8 กลยุทธ์ คือ 1) ปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาลและส่งเสริมความเป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษา 2) พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการด้านปฐมวัย 3) ประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ครอบคลุมทันสมัยกับกลุ่มเป้าหมาย 4) ปรับระเบียบกฎเกณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการ 5) สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง 6) ปลุกเร้าให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย และระดมสรรพกำลังมาพัฒนาการศึกษา 7) ปรับปรุงตบแต่งอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และ 8) สร้างวัฒนธรรมที่ดีในการประกันคุณภาพภายในองค์กร และจากการประเมิน พบว่า กลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศนี้สามารถนำไปใช้ได้กับสถานศึกษาปฐมวัยทุกสังกัด
References
จรรจา สุวรรณทัต. (2534). ความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาการเด็ก และการเลี้ยงดู หน่วยที่1-7 (น.3-5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2551). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎพระนคร.
วิทยากร เชียงกุล. (2551). จิตวิทยา ความฉลาด และความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). (ร่าง) แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. ใน เอกสารประกอบการประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่าย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การปฎิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟิก จำกัด.
สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สมนึก ทองเอี่ยม และคณะ. (2546). รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ วิทยาลัยการสาธารณสุขแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
อัญชลี ไสยวรรณ. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น