แนวทางการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหารเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, ประชาคมอาเซียน, บุคลากรทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหารเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหารเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ครูอาจารย์ของโรงเรียนเตรียมทหารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จำนวน 137 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการทหารและด้านการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการหาค่าความต้องการจำเป็น (PNI)
ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพและความต้องการการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหารอยู่ในระดับมาก ทั้งในส่วนของสภาพความเป็นจริงของการเตรียมความพร้อมและสภาพความต้องการที่คาดหวัง โดยมีค่าเฉลี่ย (μ) ในภาพรวมของสภาพความเป็นจริง 3.62 และมีค่าเฉลี่ย (μ) ในภาพรวมของสภาพที่คาดหวัง 4.38 และมีค่าความต้องการจำเป็น (PNI) 0.210 2) แนวทางการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหารเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีดังนี้ 1. พัฒนาเทคนิควิธีสอนเพื่อการจัดการเรียนรู้สู่อาเซียน 2. สร้างบริบทความเป็นอาเซียนในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม 3. เน้นการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เป็นภาษาต่างประเทศ และกำหนดให้มีการประเมินการใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ 4. พัฒนาศักยภาพของครูให้มีองค์ความรู้ด้านทักษะการจัดลำดับความคิดในระดับสูง 5. พัฒนาครูให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นและนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมและประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับท้องถิ่น 6. สร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพ กำหนดให้ร่วมกันวิเคราะห์หลักเกณฑ์ด้านคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพที่ได้กำหนดขึ้นเป็นระยะ 7. พัฒนาศักยภาพครูให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนอย่างถ่องแท้ เน้นการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในด้านการเมือง ความมั่นคง อาเซียนกับโรงเรียนเหล่าทัพและกระทรวงกลาโหม 8. สร้างและใช้เครื่องมือในการวัดประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 9. จัดหาเวลาให้ครูได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ 10. จัดและเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ 11.จัดและเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษากับสังคม
References
กรรณิกา รักษ์ยิ่งเจริญ, อาภรณี ไทยกล้า, และนุชนาท ประมาคะเต. (2555). การศึกษาความสามารถในการใช้ ความคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ 1. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(1), 56.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). ท้องถิ่น...กับการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กรอบสมรรถนะของครูแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2556, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=13037&Key=news2.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเซียเพลส จำกัด.
จอมพงศ์ มงคลวณิช. (2555). การบริหารองค์การ และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยณัฐ ดำดี, และนิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2554). การศึกษา และแรงงานไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ใน วันเพ็ญ ทรงวิวัฒน์, ณิรมล เกิดแก้ว, กาญจนา แจ่มมินทร์, สุพัตรา บุญถึง, และสุภาพ ป้อมมะลัง. วารสารดำรงราชานุภาพ, 11(41), 43-49.
บาทหลวงประสิทธิ์ ใหม่เพียรวงศ์ (2552). การศึกษาปัญหาและความต้องการการใช้สื่อการเรียนการสอนของครูโรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑลนครราชสีมามหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2539). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้ง ที่ 9 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การบรรยายทางวิชาการเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
สีลา มะเค็ง (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโครงงาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
สุชาดา นันทะไชย. (2554). จริยธรรมวิชาชีพสำหรับผู้บริหารทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ .
อรุณี บุณยะพรรค. (2545). ความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพครูตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เอกราช อะมะวัลย์. (2554). การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนช่างฝีมือทหารในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น