รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ ศุภเมธีวรกุล สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาปัจจัยสมรรถนะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ 4) เพื่อสร้างรูปแบบและวิธีการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษาในต่างจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 325 โรงเรียน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ด้วย วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความเป็นจริงที่ตรงกับสภาพปัจจุบันและความเป็นไปได้ของการใช้สมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากลในการบริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับค่อนข้างมากทุกด้าน

2. ผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่แตกต่างกัน

3. ปัจจัยสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 16 องค์ประกอบที่ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 79.938 โดยองค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 สามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้มากกว่าปัจจัยอื่นๆ (ร้อยละ 21.168 และร้อยละ 15.000 ตามลำดับ)

4. ได้รูปแบบและวิธีการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของ 5 สมรรถนะหลัก คือ การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสากล การสื่อสาร การจัดการสารสนเทศ การมุ่งเน้นบุคลากรและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ โดยมีแนวทางในการพัฒนาใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) เนื้อหาสมรรถนะ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนา และ 4) การประเมินผลการพัฒนา

References

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2549). การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงาน: สมรรถนะหลัก. วารสารการบริหารการศึกษา, 1, 25-28.

น้อย ศิริโชติ. (2524). เทคนิคการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไพศาล แสนยศบุญเรือง. (2549). พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภิรมย์ ถินถาวร. (2550). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของข้าราชการครูโรงเรียนในอำเภอบ้านโพธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยุพดี จันทน์หอมกุล. (2548). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=4863

วิจารณ์ พานิช. (2546). องค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดความรู้. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2554, จาก http:www.ha.or.th/km.html

สมพร จำปานิล. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สำนักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://www.moe.go.th

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. สมรรถนะข้าราชการ, 15(17), 29.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://esdg.excise.go.th/pdf/2.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). สาระสำคัญการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552–2561). สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://chusak.igetweb.com/index.php.518285

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2554). มัธยมศึกษายุคใหม่สู่มาตรฐานสากล 2561. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2552). สังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา รอบที่ 1 ปี 2544-2548. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://www.onesqa.or.th/th/home/index.php

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิด และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Beer, M. (2008). Managing change and transition. Boston: Harvard Business Press.

Flippo, E. B. (2006). Management: A Behavioral approach. Boston: Allyn and Bacon.

Fullan, M. (1970). The Development of transformational leaders for the educational decentralization. San Francisco: jossey-Bass A Wiley Company.

Jucius, M. J. (1971). Personnel management (6th ed.). Homewood: Richard D. Irwin.

Shermon, D. (2004). Competency based HRM: A Strategies resource for competency mapping assessment and development centers. New Delhi: Tata McGraw-Hill.

Wilson, B. (2002). Innovation curriculum [Mimeograph]. In The Second International Forum on Education reform: Key Factors in Effective Implementation. Bangkok: n.p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-16