รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล

ผู้แต่ง

  • สุจินตนินท หนูชู สาขาการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์, องค์ประกอบการบริหารจัดการศูนย์ศึกษา, ประสิทธิผลของการบริหารจัดการศูนย์ศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และประสิทธิผลของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล 4) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผลที่พัฒนาขึ้น การดำเนินวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และประสิทธิผลของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ใช้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จำนวน 333 ศูนย์เป็นกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการศูนย์ครูผู้สอนและผู้ปกครอง รวมจำนวน 999 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ ประกอบขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ขั้นตอนที่ 3 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล โดยนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์แต่ละด้านกับประสิทธิผลของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มาสร้างเป็นรูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงก่อนการประเมินเพื่อรับรองรูปแบบ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มี 8 องค์ ประกอบ คือ 1) ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการศูนย์ 2) การพัฒนาบุคลากร 3) ความคาดหวังต่อผู้เรียน 4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 5) ความสามัคคีของบุคลากร 6) การประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียน 7) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน 8) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในศูนย์ มีค่าน้ำหนักร้อยละของความแปรปรวนสะสม 63.471 โดยมีการปฏิบัติจริงในภาพรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีระดับประสิทธิผลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.07) ประกอบด้วย 1) การบรรลุวัตถุประสงค์ของศูนย์ 2) ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรของศูนย์ 3) ความสามารถในการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานของศูนย์ และ 4) ความสามารถในการปรับตัวของศูนย์

2. องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มี 8 องค์ประกอบเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1) ความคาดหวังต่อผู้เรียน 2) การพัฒนาบุคลากร 3) ความสามัคคีของบุคลากร 4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 5) การจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน 6) ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการศูนย์ 7) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในศูนย์ และ 8) การประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียนตามลำดับ โดยผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณขององค์ประกอบทั้ง 8 ร่วมกันทำนายประสิทธิผลของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้ร้อยละ 71.40 (R2 = .714)

3. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบหลัก 55 ตัวบ่งชี้ โดยองค์ประกอบหลัก คือ 1) ความคาดหวังต่อ ผู้เรียน (มี 7 ตัวบ่งชี้) 2) การพัฒนาบุคลากร (มี 7 ตัวบ่งชี้) 3) ความสามัคคีของบุคลากร (มี 7 ตัวบ่งชี้) 4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (มี 7 ตัวบ่งชี้) 5) การจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน (มี 5 ตัวบ่งชี้) 6) ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการศูนย์ (มี 10 ตัวบ่งชี้) 7) การจัด สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในศูนย์ (มี 7 ตัวบ่งชี้) และ 8) การประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียน (มี 5 ตัวบ่งชี้)

4. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผลที่พัฒนาขึ้น มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นรูปแบบในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล

References

กรมการศาสนา. กระทรวงวัฒนธรรม. (2550). การศึกษาสงเคราะห์งานวิจัยรูปแบบและกระบวนการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมการศาสนา. กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). คู่มือการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุศรินทร์ สุจริตจันทร์. (2553). รูปแบบองค์การที่มีศักยภาพการทำงานสูงของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิลัญ ปฏิพิมพาคม. (2550). รูปแบบภาวะผู้นำและประสิทธิผล ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพรรณ์ สมบูรณ์. (2552). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนร่วมสู่การทำงานของนักเรียนพิการระดับมัธยมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาบรรจง จนฺทคุตฺโต (แผ่นทอง). (2550). คุณภาพการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา: กรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2543). การวิจัยและการพัฒนาระบบการประเมินภายในสถานศึกษา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วีทีซี คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อุทุมพร จามรมาน. (2541). โมเดล. วารสารวิชาการ 1(3), 23.

Austin, Garham E., & Reynolds, John D. (1990). Managing for improved school effectiveness: An international survey. School Organization. 10(2/3), 167-178.

Edmonds, Ronald R. (1979). Effective schools for the Urban poor. Educational Leadership, 37, 15-24.

Hoy, Wayne K., & Cecil G, Miskel. (2001). Educational administration: Theory, research and practice (6 th ed.). New York: Mc Graw – Hill International Edition 2001.

Quinn, A.F., & Rohrbaugh M.S. (2002). Personnel management of people at work. New York: McMillan.

Sammons, P., Hillman, J., & Morltimore, Peter. (1995). Key characteristics of effective school a review of school effectiveness research (Research Report). London: The Institute of Education for the Office for Standard in Education.

Stedman, L.C., (1987). It’s time we change the effecrive schools formula. Phi Delta Kappan, 69, 214-224.

Sergiovanni, Thomas J. (1991). The Principalship: An Effective practice perspective. (2 nd ed.). Needham Heights: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-16