มายากลกับมายาคติในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • จอห์นนพดล วศินสุนทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

มายากล, มายาคติ, สัมพันธบท

บทคัดย่อ

“มายากล” เป็นวาทะอย่างหนึ่งที่มีความหมายเกี่ยวพันกับอำนาจ (Power) และผู้มีอำนาจ (Authority) โดยในแต่ละช่วงสมัยจะมีผู้กำหนดบทบาทหน้าที่และให้ความหมายต่อ “มายากล” ว่าคืออะไรและแม้ในปัจจุบันนักวิชาการสายหน้าที่นิยม (Functionalism) อาจให้สถานะได้เพียงสื่อเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น แต่ในแง่ความหมายแบบหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) กลับมองว่า “มายากล” ได้ประกอบสร้างความหมายจากอำนาจ (Power) ของสถาบันต่างๆ เพื่อสร้างคติความเชื่อแก่คนในสังคมไทย โดยการวิจัยนี้ได้ใช้วิธีวิทยาตามทฤษฏีของ โรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) นักสัญวิทยาชาวฝรั่งเศส เพื่อวิเคราะห์ความหมายชั้นต้นก่อนจะลงลึกไปในระดับความหมายเชิงมายาคติที่ต้องอาศัยบริบททางสังคม-วัฒนธรรมมาร่วมอภิปราย ทั้งนี้เพื่อต้องการอธิบายถึงการประกอบสร้างความหมายในสัมพันธบทที่เกิดขึ้นจากหลักฐานทั้งสิ้น 110 รายการ จาก 6 กรอบความรู้ (Epistem) ได้แก่ หลักฐานที่สื่อความหมายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การแสดง กลุ่มนักมายากล ความเป็นจริงในสังคม ความเชื่อหรือความไม่แน่ใจและสุดท้ายคือความบันเทิง

จากการศึกษาพบว่า สถาบันมายากลและสถาบันที่ใช้มายากลมีการสื่อความหมายโดยตรง คือ 1) ชนชั้นปกครอง 2) วัฒนธรรมชาวต่างชาติ 3) อำนาจเหนือธรรมชาติ 4) วิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ 5) การหลอกลวงและการกล่าวโทษ 6) ศิลปะการแสดง 7) จินตนาการและความเป็นไปได้ 8) เทคโนโลยีและความทันสมัย 9) สินค้าและธุรกิจ 10) กลุ่มสมาชิกและการรวมตัว 11) กฎระเบียบจรรยาบรรณ 12) ความเร็ว 13) การเปลี่ยนแปลง 14) การปกป้องคุ้มครอง 15) การทำนาย 16) การต้านกฎธรรมชาติ 17) การทำลายล้างและสื่อความหมายเชิงมายาคตเพื่อประกอบสร้างอุดมการณ์ความเชื่อต่าง ๆ แก่สังคมไทย คือ 1) มายากลเป็นของคนชั้นสูง 2) มายากลมีความเป็นสากล 3) มายากลเป็นความวิเศษ 4) มายากลเป็นวิทยาการที่น่าเชื่อถือ 5) มายากลเป็นสิ่งชั่วร้าย 6) มายากลเป็นความบันเทิง 7) มายากลคือความหวังต่อความเป็นไปได้ 8) มายากลเป็นสิ่งร่วมสมัย 9) มายากลมีมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ 10) มายากลมีตัวตนและมีสังคม 11) มายากลเป็นความลับที่ไม่เปิดเผย 12) มายากลเป็นอุดมการณ์ความเร่งรีบ 13) มายากลเป็นอุดมการณ์การพัฒนา 14) มายากลเป็นอุดมการณ์ความปลอดภัย 15) มายากลเป็นอุดมการณ์การทำนาย 16) มายากลเป็นอุดมการณ์การท้าทายธรรมชาติ 17) มายากลเป็นอุดมการณ์การทำลายล้าง นอกจากนี้ยังพบว่า มายากลในสถาบันต่างๆ มีความหมายที่ลื่นไหล ไม่หยุดนิ่งตายตัวและแตกต่างกันไปตามแนวคิดสัมพันธบท (Intertextuality) ซึ่งเป็นการประกอบสร้างความหมายของแต่ละสถาบันที่มีอำนาจ (Power) โดยจะเสริมแต่งด้วยความหมายทางวัฒนธรรมที่ทำให้มายากลกลายเป็นมายาคติ (Myth) ในแบบที่สถาบันที่ประกอบสร้างต้องการ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างองค์ความรู้ในกลุ่มทฤษฎีการประกอบสร้างความจริงทางสังคมและสามารถนำไปใช้ในงานนิเทศศาสตร์ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ หรือนำไปใช้ศึกษามายาคติในสื่อต่างๆ เพื่อให้รู้เท่าทันคติความเชื่ออันส่งผลต่อคนในสังคมไทยอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2548). ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสารหน่วยที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). รายงานการประชุมกลุ่มศึกษาโครงการกระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารศึกษาไทย ครั้งที่ 6/2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2545). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

คมกริช ลิปภานนท์. (2551). การสื่อสารเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ, ศิลปะการแสดงมายากล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2543). หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: รามาการพิมพ์.

ชาลี ประจงกิจกุล. (2549). ประวัติความเป็นมาของวิทยากลไทย. สืบค้น 2 มิถุนายน 2553, จาก http://www.chopmapakol.com

ซาฟาเรียล. (2534). ไพ่พยากรณ์. (บุญค้ำ ไชยพรหมวงศา, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: อินทรีย์.

ดลชัย บุญยะรัตเวช. (2546). Mythic Profile “Magician” แบรนด์ตามลักษณะโครงสร้างประเภท“นักมายากล”. สืบค้น 20 ธันวาคม 2553, จาก http://www.BrandAge.com

ทยากร แซ่แต้. (2551). มายาคติทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในละครเกาหลีและการสร้างประโยชน์ทางธุรกิจ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนัท ศุภพลทองโชติ. (2552). ตำรามายากลโบราณของไทยอายุเกือบ 100 ปี. ข่าวไทยรัฐออนไลน์. สืบค้น 27 ตุลาคม 2552, จาก www.thairath.co.th/

นพดล วศินสุนทร. (2550). การวิเคราะห์เนื้อหาสัญญะและการรับรู้ความหมายในการแสดงมายากลของเดวิด คอปเปอร์ฟิวด์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นพดล วศินสุนทร. (2553). จิตวิทยาการสื่อสารกับความต้องการเรียนรู้ในการแสดงมายากลผลการวิจัยเบื้องต้น. วารสารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 6(2), 81-95.

นพพร ประชากุล. (2544). มายาคติ [Mythologies]. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

นายตำรา ณ เมืองใต้. (2547). เหตุแห่งอีเลียดกับตำนานปรัมปรากรีก. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นิธิพัฒน์ วิจิตรภาพ. (2537). การสร้างความหมายในการจัดฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากในละครโทรทัศน์ไทย เรื่อง สี่แผ่นดิน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจง โกศัลวัฒน์. (2550). ปฐมบทแห่งศิลปะการแสดง. กรุงเทพฯ: ไทยโพสต์.

บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2548). คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2549). มายาคติ คำขวัญวันเด็ก สไตล์ทักษิณ. สืบค้น 20 ธันวาคม 2553, จาก http://utcc2.utcc.ac.thlocaluser/amsar/PDF/Thaksin%20Shinwatra.pdf

ปิยฤดี ไชยพร. (2551). คิดมายาจิตความลับของ WIN. กรุงเทพฯ: กรีน-ปัญญาญาณ.

พิเชฐ แสงทอง. (2555). สัมพันธบท (Intertextuality) จากตัวบทสู่สัมพันธบท. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 18(3), 261-270.

ไพรัตน์ ยิ้มวิสัย. (2552). ไขปริศนามายากลมานตราที่ไร้คาถา. นิตยสารอัปเดท, 24(263), 30-35.

ฟิลิป ไพบูลพันธ์. (2545). ตนชอบกล. กรุงเทพฯ: เรือนปัญญา.

ภวัต พสิษฐ์สกุล. (2547). The Magazine For Magicians News. วารสารชมรมวิทยากลแห่งประเทศไทย, 3(19), 1-2.

ภานุวัฒน์ จิตติวุฒิการ. (2553). นิตยสารธรรมะ, 1(7).

มงคล ไพศาลวาณิช. (2543). เทพเจ้าประจำสาขาอาชีพ. กรุงเทพฯ: ไพลิน.

แม๊คดาว, & สจ๊วต. (1997). ไสยศาสตร์กับคริสเตียน. (สุวัฒน์ ไพบูลย์เกษมสุทธิ, และ ปิยบุตร เต็มยิ่งยง, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร.

โรงเรียนสอนมายากลฟิลิป. (2554). ภาพถ่ายนักกลหลวง. สืบค้น 2 มิถุนายน 2553 จาก http://www.philipschool.com

วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. (2544). มายาคติ [Mythologies]. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

สันติรักษ์ ประเสริฐสุข. (2548). การสื่อและการสร้างความหมายในสถาปัตยกรรม: จากโครงสร้างนิยมถึงหลังโครงสร้างนิยม ปี พ.ศ. 2548 (The Signification and Significance in Architec ture: From Structuralism to Poststructuralism). กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิงห์คำ โต๊ะงาม. (2540). ไสยเวท อาถรรพณ์ ลึกลับ อานุภาพแห่งมายิก. กรุงเทพฯ: อินทรีย์.

สืบคำแก้ว ไชยยวน. (ผู้เรียบเรียง). (2537). คู่มือมายากล กลเม็ดเคล็ดลับมายากลเล่ม 1. กรุงเทพฯ: เดลฟี 1994.

สุทิน ทองสีเหลือง. (2551). ย้อนรอยเปรตอาจารย์กู้. สืบค้น 26 พฤษภาคม 2553, จาก http://www.oknation.net/blog/sutin

อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธ์ วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไรวรรณ รัตนพันธ์. (2550). มายาคติในโฆษณาครีมหน้าขาวสำหรับผู้หญิงของไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เอกชัย เอื้อธารพิสิฐ. (2545). สวนสัตว์: มายาคติว่าด้วยธรรมชาติและสัตว์ป่า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Allen, G. (2000). Intertextuality. London and New York: Routledge.

Barker. (1982). Media analysis techniques. United Kingdom: Sag Publications.

Bernsten. (1964). Elaborated and restricted code: Their social origins and some consequences in Communication and Culture. New York: Hot, Rinehart & Winton.

Bosch, H. (1496-1520). The Magician workshop of Hieronymus. Retrieved November 1, 2010, from http://www.ommons.wikimedia.org

C. Levi-Strauss. (1976). Myth and Meaning. London: Penguin.

Earl, J. (2004). Stage magic and the silent cinema: Melies, Houdin (Doctoral dissertation). Minnesota, United States: Walden University.

Hart, R., & Walton, M. (2010). Magic as a Therapeutic Intervention to promote coping in hospitalized pediatric patients CNE. Pediatric Nursing, 36(1), 11-16.

Kaarst Brown, M.L., & Robey, D. (1999). More on myth, magic and metaphor: Cultural insights into the management of information technology in organizations. Information Technology & People, 12(2), 192–218.

Macknik, S.L., & King. (2008). Attention and awareness in stage magic: turning trick into research. Nature reviews Neuroscience, 9, 871-879.

Mclntyre, R.A. (2010). Myths, a composition for orchestra (Doctoral dissertation). Philadelphia, PA: Temple University.

Metz, C. (1974). Film language: A semiotics of the cinema. New York: Oxford University.

Ozdek, A. (2008). Heteroglossic narratives of national history: Mythified histories and the postcolonial condition (Doctoral dissertation). Washington DC.: The George Washington University.

Rydell, W. (1976). Great book of magic. history & general magic. New York: Publishers.

Scott, R. (c.1538-1599). A discovery of Witchcraft. England: V. Propp. (1973). Morphology of the Folktale. Austin, TX: University of Texas Press.

Wiseman, R. (2008). Magic school: Learning tricks like Harry Potter. UK: Hertfordshire University.

Zakariya, N.B. (2010). Towards a final story: Time, myth and the origins of the universe (Doctoral dissertation). Cambridge, MA: Harvard University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-16