กรณีศึกษาการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินส่วนบุคคลด้วยอัตราส่วนทางการเงิน
คำสำคัญ:
การจัดการการเงินส่วนบุคคล, งบการเงินส่วนบุคคล, อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคลบทคัดย่อ
บทความนี้ใช้กรณีศึกษาในการอธิบายวิธีการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินส่วนบุคคลโดยใช้เครื่องมือทางการเงินซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคืออัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล การตรวจสอบเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของบุคคลที่ต้องการตรวจสอบรวมทั้งเป้าหมายทางการเงินในอนาคตของเขาด้วย จากนั้นนำมาจัดทำงบการเงินส่วนบุคคลได้แก่ งบดุลส่วนบุคคลและงบกระแสเงินสดส่วนบุคคล หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลในงบการเงินส่วนบุคคลมาคำนวณอัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อตรวจสอบสุขภาพทางการเงินในสามด้านคือ ด้านสภาพคล่อง ด้านภาระหนี้สิน และด้านการออมและการลงทุน กรณีศึกษาได้แสดงให้เห็นทุกขั้นตอนของการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินส่วนบุคคล โดยละเอียดอย่างชัดเจน รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการรักษาและปรับปรุงสุขภาพทางการเงินเพื่อให้บุคคลมีอิสรภาพทางการเงินตามอัตภาพกล่าวคือสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความหมายและศักดิ์ศรีโดยการพึ่งพาการเงินของตัวเองได้อย่างมีศักยภาพตลอดการดำรงชีวิตโดยไม่เป็นภาระกับใคร
References
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: บริษัทบุญศิริการพิมพ์ จำกัด.
ศศิวิมล ถาวรพงศ์สถิตย์. (2556). ความสำคัญของความรู้ทางการเงิน (Financial literacy)ปัจจุบันและอนาคต. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2556, จาก: https://www.facebook.com/สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
อมิตา อริยอัชฌา. (2551). เขาใช้เงินกันอย่างไรมีกำไรตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: บริษัทแปลน พริ้นติ้ง จำกัด.
Kapoor, J.R., Dlaby, L.R. & Hughes R.J. (2010). Focus on Personal Finance (3rd ed). New York: McGraw-Hill Irwin.
Madura, J. (2011). Personal Finance (4th ed). New York: Prentice Hall.
Tyson, E. (2010). Personal Finance for Dummies (6th ed). Indianapolis: Wiley Publishing, Inc.
Yates, D. & Ward, C. (2012). Are your personal financial characteristics healthy?. Journal of Business and Economics Research, 10(4), 225-232.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น