ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าสลิมมิ่งพลัสในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ชนานาถ พูลผล สาขาการจัดการตลาด หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทาง, การตัดสินใจใช้บริการ, สลิมมิ่งพลัส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของลูกค้าสลิมมิ่งพลัสในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าสลิมมิ่งพลัส ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าสลิมมิ่งพลัสในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 4) ศึกษาปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าสลิมมิ่งพลัสในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ลูกค้าของสลิมมิ่งพลัสเฉพาะ สาขาที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 348 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เพื่อหาค่าสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างของสลิมมิ่งพลัสแต่ละสาขา ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสถิติทดสอบ T-test F-test ทำการทดสอบเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และค่าสถิติวิเคราะห์ แบบถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีสเต็ปไวส์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30 – 40 ปีมากที่สุด ส่วนใหญ่ มีระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมากที่สุด ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส มีรายได้ ต่อเดือน 30,001 - 40,000 บาทมากที่สุด 2) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลางและด้านการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับมาก 3) การตัดสินใจใช้บริการด้านการแสวงหาข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการประเมินทางเลือก อยู่ในระดับมาก 4) ลูกค้าที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพและรายได้ที่แตกต่างกันมีระดับการ ตัดสินใจใช้บริการที่สลิมมิ่งพลัสแตกต่างกัน 5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจใช้บริการที่สลิมมิ่งพลัส ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านบุคลากร โดยปัจจัย ทั้ง 3 ด้าน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. (2555). สถานการณ์ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2555. จาก http://www.fhpprogram.org/home/index.php?file=page&op=obesity/

แฟรนไชส์เสริมความงาม. (2553). ธุรกิจน่าลงทุน...สำหรับเอสเอ็มอีปี ’53. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2555. จาก http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=284/

มนชัย ตรีสุข. (2550). ปัจจัยการตลาดที่มีผลในการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ลดน้ำหนัก บิวตี้เชพนิวลี่ไลน์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

อัญชิสา แก้วอนันต์. (2552). พฤติกรรมการใช้บริการสถาบันเสริมความงามเมดิแคร์ คลินิกของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระวิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อาร์วายทีไนน์. (2555). กลยุทธ์ 5 เอส ‘บอดี้เชพ’ รีดไขมันหนุ่มสาวถูกวิธี. ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง, ฉบับ วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2549, สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.ryt9.com/s/bmnd/711616/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-16