ความสามารถในการแข่งขันส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ

ผู้แต่ง

  • ณาตยา แดงรุ่งโรจน์ สาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจสำหรับผู้บริหาร สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คำสำคัญ:

ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ, ความสามารถในการแข่งขัน, ส่วนแบ่งตลาด

บทคัดย่อ

การศึกษาความสามารถในการแข่งขันส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิต การส่งออกและเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มศักยภาพส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟให้กับผู้ประกอบการของประเทศไทย โดยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 การวิเคราะห์ การศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ได้แก่ การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของ การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของประเทศไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา จีนและญี่ปุ่น โดยใช้ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) ของ Balassa และการวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดแบบคงที่ (CMS) ของ Leamer & Stern เปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง 4 ประเทศ โดยใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลารายปี ระหว่างปี 2546-2555 ส่วนที่2 การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) เป็นการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของไทยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบกับ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ผลการวิเคราะห์ค่าความได้เปรียบโดย เปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) และส่วนแบ่งตลาดคงที่ (CMS) ในการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในช่วงปี 2546- 2555 พบว่า ประเทศไทยมีค่า RCA มากกว่า 1 ในทุกตลาด โดยยังสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดที่สำคัญไว้ได้ทั้ง 3 ตลาด และจากการศึกษาปัจจัยสถานการณ์การผลิตและการตลาด พบว่าการที่ประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตและส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ใหญ่ของโลก ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากนโยบายการส่งเสริม การลงทุนของรัฐ และคุณภาพทักษะและฝีมือของแรงงานไทยที่มีสูงกว่าประเทศคู่แข่ง แต่ทั้งนี้ยังพบจุดอ่อนที่ยังคงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาความสามารถทางด้านเทคโนโลยีการพึ่งพิงชิ้นส่วนจากบริษัทต่างชาติ ซึ่งต้องได้รับการประสานความร่วมมือภาครัฐและเอกชน จึงทำให้อุตสาหกรรมการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต

References

ชัยยนต์ กิตติวิศิษฎ์. (2546). ความสามารถในการแข่งขันทางการส่งออกของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างไทยและจีน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิฐิตา เบญจมสุทิน; และนงนุช พันธกิจไพบูลย์. (2548). เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุสรา วงศ์ธรรม. (2552). ศักยภาพการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปญี่ปุ่น. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประธาน ยอดวศิน. (2543). ศักยภาพการส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ของประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงศกร ตั้งสยามวณิชย์. (2552). ศักยภาพการส่งออกข้าวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัชรินทร์ กือเย็น. (2551). การวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดแบบคงที่ของการส่งออกยางพาราไทย. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศักดิ์ศิริ ศิริวัตน์. (2548). ศักยภาพการส่งออกรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญา สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Balassa, Bela. (1965). Trade Liberalization and Revealed Comparative Advantage. pp.573-576. Manchester School of Economics and Statistics. Maryland : Johns Hopkins University Press.

Leamer, E.E., & Stern, R.M. (1970). Quantitative International Economics. pp.120-128. Boston : Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17