เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
เส้นทางอาชีพ, อาจารย์มหาวิทยาลัย, อาชีพอาจารย์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนที่มีต่อระดับความสำคัญและ ระดับการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติในการส่งเสริมและสนับสนุนและระดับความสำเร็จ/บรรลุผลในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำคัญของความก้าวหน้าในอาชีพอาจารย์กับระดับการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิบัติในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์กับระดับความสำเร็จ/บรรลุผลในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามโดยแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกเป็นแบบสอบถามสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ส่วนชุดที่สองสำหรับอาจารย์ผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคืออาจารย์และผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท มีประสบการณ์ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา 5-10 ปี สำหรับข้อมูลทั่วไปของอาจารย์ส่วนใหญ่จบการศึกษา ระดับปริญญาโท เงินเดือนอยู่ในช่วง 15,001-20,000 บาท มากที่สุด และส่วนใหญ่อาจารย์ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ
2. การส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
2.1 ระดับความสำคัญและระดับการส่งเสริมสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ใน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนอาจารย์เห็นว่าการส่งเสริมอาชีพมีระดับความสำคัญต่อความก้าวหน้าของอาจารย์อยู่ในระดับมาก แต่ในการปฏิบัติจริงมีการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง
2.2 ระดับการปฏิบัติและระดับความสำเร็จหรือบรรลุผลการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้า ในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และมีความสำเร็จ/บรรลุผลอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน
3. ความสำคัญของความก้าวหน้าในสายอาชีพสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในอาชีพของอาจารย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ระดับการปฏิบัติในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพอาจารย์มีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับระดับความสำเร็จ/บรรลุผลในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ฉลวยลักษณ สินประเสริฐ. (2538). การพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารการศึกษาแห่งชาติ, 23 (5), หน้า 12-19.
ดวงกมล ภาคเสมา. (2545). การวางแผนสายอาชีพเพื่อพัฒนาบุคลากร : กรณีศึกษาพนักงานฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิครินทร์ (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เพ็ญศรี ฉิรินัง . (2550). การพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย: ศึกษาเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วริษฐา วรราช. (2549). การวางแผนพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของนักวิจัย : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศรุดา ชัยสุวรรณ. (พฤศจิกายน 2549-มีนาคม 2550). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(2), หน้า 85-98.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน .การพัฒนาเส้นทางสายอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2554, จาก www.ocsc.go.th/ocsccms/uploads/File/HR.../hrcham51-5careerpath.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. คณะกรรมการจัดทำ แนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2548). Career development in practice (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2550). Career development in practice (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อิศเรศพิพัฒน์มงคลพร. (2542). รูปแบบการพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Mondy, R. Wayne, and Robert M. Noe III. (1993). Human Resource Management. 5th ed. Boston:Allyn and Bacon.
Pace, W.R., Smith, P.C. & Mills, G.E. 1991. Human resource development : The field. NewJersey : Prentice Hall, Inc.
Schwarzwald, J., Koslowsky, M., & Shalit, B. (1992). A field study of employees’ attitudes and behaviors after promotion decisions. Journal of Applied Psychology, 77, 511-514.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น