เชียงชื่น: ความสำคัญที่มีต่อการสร้างวีรกรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในยวนพ่ายโคลงดั้น

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล สาขาวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เชียงชื่น, ยวนพ่ายโคลงดั้น, วีรกรรม, สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของเมืองเชียงชื่นในยวนพ่ายโคลงดั้นที่มีผลต่อการสร้างวีรกรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ผลการศึกษาพบว่า เมืองเชียงชื่นหรือเมืองเชลียงเป็นเมืองที่มีความสำคัญควบคู่มากับเมืองสุโขทัยในสมัยที่อาณาจักรสุโขทัยยังรุ่งเรืองในสมัยอยุธยาเมืองเชียงชื่น เคยเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรอยุธยาจนกระทั่งพระยาเชลียงเอาใจออกห่างไปเข้ากับล้านนา การกล่าว ถึงเมืองเชียงชื่นในเอกสารทางประวัติศาสตร์ทั้งของอยุธยาและล้านนาจะไม่มีการให้รายละเอียดของเมือง เชียงชื่นมากนัก แต่ในยวนพ่ายโคลงดั้นได้สร้างเมืองเชียงชื่นให้เป็นฉากสำคัญของเรื่องที่มีความเชื่อมโยงกับฉากอื่น ๆ ในเรื่องได้อย่างสัมพันธ์กลมกลืน และมีผลกับการเล่าเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผลสอดรับกันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการสร้างเรื่องราวและให้รายละเอียดของเมืองเชียงชื่นอย่างมีนัยยะ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเหตุการณ์เกี่ยวกับหมื่นด้งนครและนางเมือง และการบรรยายเมืองเชียงชื่นอย่างละเอียด เมืองเชียงชื่นจึงกลายเป็นพื้นที่ของการประกอบสร้างวีรกรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในยวนพ่าย โคลงดั้นให้มีความชอบธรรมอย่างชัดเจน ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นมากที่สุดของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในยวนพ่ายโคลงดั้นจึงเป็นภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์นักรบผู้ทรงธรรมอย่างชัดเจน

References

ขจร สุขพานิช. (มปป). ราชอาณาจักรเชลียง – ก่อนราชวงศ์พระร่วง. ใน วรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และวุฒิชัย มูลศิลป์ (บรรณาธิการ). อนุสรณ์ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช. 139 – 158. กรุงเทพฯ: ศึกษิตสยาม.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2514). คำอธิบาย (เมื่อพิมพ์ครั้งแรก). ใน ลิลิตยวนพ่าย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : บรรณาคาร.

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2514). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สมหมาย เปรมจิตต์ (ชำระ). (2540). ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับสอบชำระ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 จารึกกรุงสุโขทัย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชประสิทธิคุณ ณ สุสานวัดราชธานี จังหวัดสุโขทัย. (2515). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงสารประเสริฐและฉบับกรมพระปรมานุชิตฯ และพงศาวดาร เหนือฉบับพระวิเชียรปรีชา (น้อย) เล่ม 1. (2504). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2547). มณีปิ่นนิพนธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานพ ถนอมศรี. (2546). ศรีสัชนาลัย โบราณสถานสามสมัย. กรุงเทพฯ: พี พี เวิลด์ มีเดีย.

ยวนพ่าย จบบริบูรณ์ เอกสารหมายเลข 194. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค.

วรรณกรรมสมัยสุโขทัย. (2539). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

วัลยา วิวัฒน์ศร (แปล). (2541). มิติสถานที่ในนวนิยายของฟร็องซัวส์ โมริยัค ค.ศ 1922 – 1941. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

แสง มนวิทูร และจำนงค์ ทองประเสริฐ. (2537). ศรีมัทภควัทคีตา หรือเพลงแห่งชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). พื้นที่ ในทฤษฎีสังคมศาสตร์. ใน สังคมศาสตร์, 12(2), 65 – 160.

Bal, Mieke. (1999). Narratology Introduction to the Theory of Narrative. (second edition). Canada: University of Toronto Press.

Prince, Gerald. (2003). Dictionary of Narratology. (Revised edition). U. S. A.: University of Nebraska Press.

Chatman, Seymour. (1993). Story and Discourse. (Sixth edition). New York: Cornell University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17