ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อประสิทธิผลการพัฒนาผู้เรียนในยุคสารสนเทศ

ผู้แต่ง

  • เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, การบริหารกิจการนักเรียน, การพัฒนาผู้เรียน, ยุคสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารกิจการนักเรียนในยุคสารสนเทศ ศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาผู้เรียนในยุคสารสนเทศ และนำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อประสิทธิผลการพัฒนาผู้เรียนในยุคสารสนเทศ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการโดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหาร ครูปฏิบัติงานกิจการ นักเรียน ครูสอนคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 1-42 จำนวน 984 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) 2) ศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาผู้เรียนในยุคสารสนเทศ โดยใช้วิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อประสิทธิผลการพัฒนาผู้เรียนในยุคสารสนเทศโดย การจัดทำ SWOT Analysis และTOWS Matrix สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปสาระสำคัญและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารกิจการนักเรียนในยุคสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียน ครูปฏิบัติงานกิจการนักเรียน ครูสอนคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายผู้ปกครองในด้านระเบียบวินัยนักเรียน ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน และด้านสภาพการบริหารกิจการนักเรียนในยุคสารสนเทศ ทุกข้อมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการในการบริหารกิจการนักเรียนอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการพัฒนาผู้เรียนในยุคสารสนเทศ ได้แก่ มีความรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) มีความรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ (Information Media Literacy) มีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy) มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และมีความรู้สารสนเทศ (Information Literacy) 3) ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อประสิทธิผลการพัฒนาผู้เรียนในยุคสารสนเทศ ประกอบ ด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองโลกที่มีศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีในยุคสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีในยุคสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียนให้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัยในยุคสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในการสืบค้นโดยใช้เทคโนโลยีในยุคสารสนเทศ และยุทธศาสตร์ ที่ 5 พัฒนาผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพในยุคสารสนเทศ

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2552). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ.2552-2556. สืบค้น 26 เมษายน 2555, จาก www.etda.or.th/file_storage/uploaded/../ICTmasterPlan-volume2.pdf.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. (2548). ทักษะการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิตรตรี อนุสนธ์. (2552). ความตระหนักถึงภัยจากการเปิดเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวในอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิตติญาดา เหรียญมณี. (2548). ความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมและการกลั่นกรองเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชไมพร คงเพชร. (2548). สื่อลวงออนไลน์ : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนากิตต์ ราชพิบูลย์. (2553). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ญาตาวี สุภาพกิจ. (2553). การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพเด็กในโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดำรง ประเสริฐกุล. (2542). การบริหารกิจการนักเรียน. คณะครุศาสตร์. พิษณุโลก: สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.
ธีระศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา: การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธเนศพล ติ๊บศูนย์. (2551). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่องานกิจกรรมนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
นิตยา วงษ์กันยา. (2552). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของบริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุษรา ประกอบธรรม. (2556). การยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(81), 106-116.
ปกรณ์ ปรียากร. (2548). การวางแผนกลยุทธ์: แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต Social Media: Future Media. วารสารนักบริหาร, 31(4), 99-109.
เรวดี เสนแก้ว. (2554). ผลกระทบของการสนทนาบนอินเตอร์เน็ตต่อวัยรุ่นตอนปลายในเขตเทศบาลนครยะลา. วารสารศิลปศาสตร์, 3(1), 105-121.
วิไลลักษณ์ ทองคำบรรจง. (2553). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรัชญ์ ครุจิต. (2552). วิกฤติเด็กไทยผลวิจัยพบปัญหา 5 มิติ. สืบค้น 26 เมษายน 2555, จาก http://www.wrote107.blogspot.com/2009/08/5.html.
วลียา ล่องจิตต์ธรรม. (2555). นิยามและขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้น 25 มีนาคม 2555, จาก http://www.gotoknow.org/blog/bobobo2.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมพร เทพสิทธา. (2542). คุณธรรมและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์.
สมานจิต ภิรมย์รื่น. (2546). การพัฒนารูปแบบสถาบันส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). การพัฒนาและประเมินผลผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม: กรณีศึกษาจากการปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2549). พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. สำนักพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาและกิจการพิเศษ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดวี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2550). การบริหารกิจการนักเรียน นักศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวิทย์ ยอดสละ. (2553). การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ. สืบค้น 19 เมษายน 2555, จาก http://www.yordblogger.blogspot.com/../challenge-of-future-education.html.
สุพรรษา เกษสีแก้ว. (2552). พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์เวลาจริงของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อริยาภรณ์ เลิศพัฒนกิจกุล. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2548). ความปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
Cherrington, D. J. (1989). Organizational Behavior: The Management of Individual and Organizational Performance. Boston: Allyn and Bacon.
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Testing. (4th ed). New York: Harper & Row Define: Responsibility, Retrieved June 5, 2007, from URL: http://www.en.WikipediaOrg/wiki/Responsibility.
Early, M. R. W. (2004). Perceptions of Alabama Middle-level Principals Regarding the Safety of the Schools. Dissertation Abstracts International. 64 (12), 4283.
Eisner, E. W. (1976). Educational Connoissership and Criticism : Their Form and Functions In Educational Evaluation. Aesthetic Education, 37(9), 192-193.
Jones, V. and Morris J.R. (1956). Relation of Temperament to the Choices of Values. Journal of Abnormal Social Psycholog, 53 (1956), 781.
Koontz, H. and Weihrich, H. (1990). The TOWS Matrix for Strategy Formulation. Essentials of Management. (5thedition). Singapore: McGraw-Hill.
Nesheim, E. (2008). College Students and Safety Issues : Effects on Learning Outcomes in the First Year of College. Retrieved December 9, 2011, from http://www.Search.ebscohost.com/login.aspx?direct= true&db=99h&AN=5439076&site=chost=live&scope=site.
Spitzer, K. L., Eisenberg, M. B. and Lowe, C. A. (1998). Information Literacy: Essential Skills for the Information Age. New York: ERIC Clearing House on Information Technology.
Wheelen, T. L., and Hunger, D. J. (2004). Strategic Management and Business Policy. (9thed). Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17