ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุจิตราภรณ์ จุสปาโล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว, จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา โดยทำการเก็บข้อมูลกับนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย นำเสนอผลการเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวด้วยเทคนิค Importance Performance Analysis (IPA) และทดสอบสมติฐานการวิจัย ด้วยค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาทั้ง 6 ผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก แต่คะแนนความพึงพอใจมีค่าต่ำกว่าคะแนนความคาดหวังทั้งในภาพรวมและแยกย่อยแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยที่คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังอยู่ในช่วง 3.83 - 4.01 คะแนน ส่วนคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในช่วง 3.71 - 3.80 คะแนน เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาแต่ละด้านด้วยเทคนิค IPA คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอยู่ใน Quadrant 2 แสดงว่า มีความสมดุลระหว่างความคาดหวังของนักท่องเที่ยวกับความสามารถของผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวในการสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้น ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ความคาดหวังกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวจังหวัดสงขลามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งในภาพรวมและแยกย่อยผลิตภัณฑ์แต่ละด้านนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความคาดหวังต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาต่ำกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย ทั้งในภาพรวมและแยกย่อยผลิตภัณฑ์แต่ละด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และไม่พบความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งในภาพรวมและแยกย่อยผลิตภัณฑ์แต่ละด้าน

References

กรรกฎ คุ้มควายทอง. (2550). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวหาดบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2553). รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย. จาก http://tourismawards.tourismthailand.org/8th/th/history.php

จิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย. (2550). โครงการความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เตือนจิต เหมพงศ์พันธ์. (2539). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.

ไพศาล ชุ่มวงศ์. (2550). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยววนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แนวโน้มการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย. จาก http://www.mots.go.th/more_news.php?cid=66&filename=index

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2535). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2539). คุณภาพในงานบริการ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2548). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานจังหวัดสงขลา. (2555). กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. จาก http://songkhlastg.go.th/develop

Chaiprasit, K., Jariangprasert, N., Chomphunut, A., Naparat, D., & Jaturapataraporn, J. (2011). Tourist expectations toward travel and tourism websites in Thailand. The International Business & Economics Research Journal, 10(3), 41-49.

Chin-Tsai Kuo. (2011). Tourist satisfaction and intention to revisit sun moon lake. Journal of International Management Studies, 6(1), 1-6.

Chu, R. K., & Choi, T. (2000). An importance-performance analysis of hotel selection factors in the Hong Kong hotel industry: a comparison of business and leisure travellers. Tourism Management, 21(4), 363-377.

Ennew, C. T., Reed, G. V., & Binks, M. R. (1993). Importance-performance analysis and the measurement of service quality. European journal of marketing, 27(2), 59-70.

Guadagnolo, F. (2011). The Importance-performance analysis: An Evaluation and marketing tool. Journal of Park and Recreation Administration, 3(2).

Ignacio Rodríguez, D. B., Héctor, S. M., Jesús Collado, & María del Mar García de, Los Salmones. (2009). A Framework for tourist expectations. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research, 3(2), 139-147.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2002). Principle of Management (วารุณี ตันติวงศ์วานิช และคณะ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

María Cordente-Rodríguez, Águeda Esteban-Talaya, & Juan-Antonio Mondéjar-Jiménez. (2010). The Sense of service at tourist destinations. International Journal of Management and Information Systems, 14(4), 17-24.

Martilla, J. A., & James, J. C. (1977). Importance-performance analysis. The Journal of Marketing, 77-79.

Martin, D. W. (1995). An importance/performance analysis of service providers’ perception of quality service in the hotel industry. Journal of Hospitality & Leisure Marketing, 3(1), 5-17.

Oh, H. (2001). Revisiting importance–performance analysis. Tourism Management, 22(6), 617-627.

Supitchayangkool, S. (2012). The differences between Satisfied/Dissatisfied tourists towards service quality and revisiting Pattaya, Thailand. International Journal of Business and Management, 7(6), 30-39.

Vroom, H.V. (1970). Industrial Social Psychology. Management and Motivation Hamon-worth Penguin Books.

Wade, D. J., & Eagles, P. F. (2003). The Use of importance–performance analysis and market segmentation for tourism management in parks and protected areas: An Application to Tanzania’s National Parks. Journal of Ecotourism, 2(3), 196-212.

Yüksel, A., & Yüksel, F. (2003). Measurement of tourist satisfaction with restaurant services: A Segment-based approach. Journal of Vacation Marketing, 9(1), 52-68

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17