สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความเป็นสถาบันและการกระทำภายใต้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม

ผู้แต่ง

  • นิภาพรรณ เจนสันติกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และอธิบายถึงปรากฏการณ์โดยใช้ทฤษฎีของทัลคอตต์ พาร์สันมาเพื่อวิเคราะห์ตามโครงสร้าง ความเป็นสถาบันและการกระทำ ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1. สาเหตุของปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผลมาจากความแตกต่างและความไม่เข้าใจถึงด้านประวัติศาสตร์ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านวัฒนธรรม ภาษาและศาสนา ด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษา 2. จากทฤษฎีของทัลคอตต์ พาร์สัน สรุปได้ว่า ผู้กระทำ ได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมุสลิมที่มีโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อสถานภาพและบทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมุสลิมให้มีการปฏิสังสรรค์ขึ้นจากบรรทัดฐาน ค่านิยมและการขัดเกลาทางสังคม และเกิดความเป็นสถาบันของเจ้าหน้าที่รัฐและของประชาชนมุสลิม

References

กาญจนา บุญยัง. (2549). ปอเนาะ รากเหง้าของปัญหาเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มุมมองของคนนอกพื้นที่. วารสารอินโดจีนศึกษา, 7(1), 307- 345.

คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ. (2549). รายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (ม.ป.ป.). อนาคตเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ของไทย. สืบค้น 2 กรกฎาคม2554, จาก http://www.sahanetilaw.com/

บรรจง ฟ้ารุ่งสาง. (2550). การวิจัยนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2540-2550 (รายงานผลการวิจัย). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ. (2552). บทสรุปย่อ ความขัดแย้งและทางออกการเมืองไทย: หลากมุมมองจากเวทีประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2552). ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2552) (น.iv-ix). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประคอง เตกฉัตร. (2551). ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับกระบวนการยุติธรรม. วารสารวิชาการนิติศาสตร์, 1(2), น 31-46.

แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. (2552). การจัดการความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้บนพื้นฐานความรู้. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2552) (น. 193-209). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). ศัพท์สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2543). ผู้นำความขัดแย้งและความรุนแรง: สภาวการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. รูมิแล, 21(2), 37-46.

George Ritzer. (1992). Sociological theory. San Francisco: McGraw-Hill.

Jonathan H. Turner. (1986). The Structure of sociological theory. Chicago, Illinois: The Dorsey.

Talcott, Parsons. (1949). The Present position and prospect of systemic theory in sociology, Essays in sociological theory. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17