กลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจเบเกอรี่
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การตลาดบริการ, ธุรกิจเบเกอรี่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจเบเกอรี่ ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริโภคเบเกอรี่ในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ห้างสรรพสินค้าดิเอ็มโพเรียม ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวิลด์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม 9 ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 ผู้วิจัยทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการกำหนดโควตาขนาดตัวอย่าง(Quota sampling) 600 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วย โปรแกรมสำเร็จรูป AMOS ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจเบเกอรี่ ได้แก่ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ 7 p’s และประเภท ร้านเบเกอรี่ 3 ประเภท สัดส่วนค่าสถิติไคสแควร์/ค่าชั้นแห่งความเป็นอิสระ(X2/ df) มีค่าเท่ากับ 1.982 ซึ่งน้อยกว่า 2 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาดัชนีกลุ่มที่กำหนดไว้ที่ระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 0.90 พบว่า ดัชนีทุกตัวได้แก่ GFI = 0.915 , AGFI = 0.988, NFI = 0.909 IFI = 0.947, CFI = 0.947 ผ่านเกณฑ์ ส่วนดัชนีที่กำหนด ไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.08 พบว่า ดัชนี RMR = 0.044 และ RMSEA = 0.040 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้เช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่กล่าวข้างต้นส่งผลต่อกลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธรุกิจเบเกอรี่ นอกจากนี้เมื่อนำโมเดลองค์ประกอบกลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจเบเกอรี่มาพิจารณาแยกส่วนเพื่อพิจารณาน้ำหนักองค์ประกอบในแต่ละตัวชี้วัด ผู้วิจัย พบว่ากลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจเบเกอรี่ สามารถพิจารณาได้ในรูปกลยุทธ์ย่อย ได้ 7 กลยุทธ์ดังนี้ 1.กลยุทธ์การสร้างสรรค์บรรยากาศ 2. กลยุทธ์บุคลากรทำงานเชิงรุก 3. กลยุทธ์การจัดสภาพแวดล้อมดึงดูดให้เข้าร้าน 4. กลยุทธ์การจัดระบบการแสดง ผลิตภัณฑ์ 5.กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 6. กลยุทธ์คุณภาพผลิตภัณฑ์ 7. กลยุทธ์ราคาเหมาะสมกับตลาด ซึ่งเรียกว่า “ Q – MARK ”
References
นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2542) ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทาง สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปิยะพรรณ ผิวเหลืองสวัสดิ์ (2553) พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดในเขตกรุงเทพมหานคร ค้นคว้าอิสระ ปริญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พาฝัน ตัณฑัยย์ (2543) การดำเนินงานของธุรกิจเบเกอรี่ในจังหวัดเชียงใหม่ ค้นคว้าอิสระ ปริญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภัทราภรณ์ โสวรัตนพงศ์ (2547) พฤติกรรมการบริโภคเบเกอรี่ในผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
วราวรรณ อนันตรัตน์ (2549) พฤติกรรมการซื้อ และความพึงพอใจของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุภารัตน์ พุทธวงค์ (2551) ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟในเขตถนนนิมมานเหมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมเกียรติ เป็งโต (2547) ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมการตลาดบริการของร้านกาแฟวาวี ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมสมร ตันเสรีสกุล (2550) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ตลาดระดับบนที่มีร้านจำหน่าย ภายในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อัมพา พาราภัทร (2548) พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคเบเกอรี่ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ค้นคว้าอิสระปริญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Bank Marketing. (1996). “ Collin Street Bakery ’ s 100 –year – old recipe for business success ” International Journal of Bank Marketing, 14(5), pp.31-32
Barr, V. and Broudy, C.E. (1990). Designing to sell (2nd ed.) New York, McGtaw-Hill.
Darling, B.L & Davis, Tim R.V. (1994). “ Super Bakery, INC. Innovating in a Mature Market Is Not Just a Piece of Cake Case Study ” Planning Review, January/February, pp.9-16
Euromonitor International. (2010). “ Passport Baked goods in Thailand ” Retrieved December 8,2011 from http://www.euromonitor.com/bake-goods-in-thailand/report
Euromonitor International. (2011). “ Passport Baked goods in Thailand ” Retrieved February 27,2012 from http://www.euromonitor.com/bake-goodsin-thailand/report
Lawson, Fred. (1973). Restaurant Planning & design , New York : VanNostrand Reinhold company.
Green, W.R. (2000). The Retail Store : Design and Construction 2nd ed. The United State of America: Van Nostrand Reinhold.
Tikkanen, Irma (2010) “ Attributes and benefits of branded bread : case Artesaani ” British Food Journal, 9(122), pp.1033 -1043
Israel, L.J. (1994). Store Planning/Design, The United State of America : John Wiley & Sons Inc.
Levy, M., & Weitz, B. ( 2007) Retailing Management. (6th ed.) Florida : McGraw – Hill
Philip, P. M. (2005) “ The 2005 – 2010 World Outlook for Breakfast Bakery Goods ” ICON Group Ltd. Retrieved June 15, 2012 from http:/www.icongrouponline.com
Pacella, P. (2009) Everything I know About Business I learned at McDonald ’s, The United States of America : McGraw – Hill
Robson, Stephani K.A. (1999) “ Turning the Table ” Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, June, 40(3), pp.56-63
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น