การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดนและบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ความคิดเห็นของชุมชนบ้านถ้ำลอด ต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ ชาญสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้, ชุมชนบ้านถ้ำลอด, สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด บนพื้นฐานความคิดเห็นของชุมชนบ้านถ้ำลอด หมู่ที่ 1 ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทำการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก แบ่งกลุ่มผู้ถูกสัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำชุมชน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 20 คน และกลุ่มลูกบ้าน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบอลหิมะ (Snowball sampling) ทำการเก็บข้อมูลจนกว่า จะได้ข้อมูลอิ่มตัว พบว่าขนาดตัวอย่าง คือ 45 ครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีแบบจุลภาคตามวิธีการของสุภางค์ (2552)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้นำชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 31 – 60 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มผู้นำชุมชนมีความคุ้นเคยกับหัวหน้าสถานีฯ ในอดีต แต่ไม่คุ้นเคยกับหัวหน้าคนปัจจุบัน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางสถานีฯ เป็นวิธีการบอกต่อแบบปากต่อปากและได้รับข้อมูลจากทางสถานีฯ ไม่บ่อยมากนัก สำหรับความคิดเห็นต่อเพศของหัวหน้าสถานีฯ พบว่าผู้นำชุมชนเห็นว่าทั้งเพศหญิงและเพศชายสามารถเป็นหัวหน้าสถานีฯ ได้ สำหรับกลุ่มลูกบ้านพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง มีช่วงอายุระหว่าง 31 – 60 ปี เช่นเดียวกับกลุ่มผู้นำการศึกษาต่ำกว่าระดับประถม ศึกษาปีที่ 4 กลุ่มลูกบ้านส่วนใหญ่ไม่มีความคุ้นเคยกับหัวหน้าสถานีฯ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางสถานีฯ นาน ๆ ครั้ง และกลุ่มลูกบ้านมีความเห็นเช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้นำชุมชนเกี่ยวกับเพศของหัวหน้าสถานีฯ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่าง กลุ่มผู้นำและกลุ่มลูกบ้านถึงลักษณะที่พึงประสงค์ของหัวหน้าสถานีฯ พบว่าไม่แตกต่างกัน โดยทั้งสองกลุ่มต้องการให้หัวหน้าสถานีฯ มีภาวะผู้นำ มีความรู้ความสามารถในทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตน มีจริยธรรม มีบุคลิกภาพที่ดีและมีมนุษยสัมพันธ์กับชุมชน

References

กิติ ตยัคคานนท์. 2532. เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำ. โรงพิมพ์บริษัทเชษฐสตูดิโอฯ จำกัด, กรุงเทพฯ.

ธีรวัฒน์ สงวนพงษ์. 2542. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักวิชาการศึกษาในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ อำเภอในจังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่ง แก้วแดง. 2539. รีเอ็นจิเนียริ่งระบบข้าราชการไทย ภาค 2. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. 2544. ภาวะผู้นำ. โรงพิมพ์ธนธัชการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. 2550. การบริหารจัดการและการบริหารพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐ. สำนักพิมพ์ เอ็กซเปอร์เน็ท, กรุงเทพฯ.

สายพิณ ภู่ผล. 2544. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามแนวปฏิบัติในโรงเรียนปฐมศึกษา ตามทัศนะของอาจารย์ผู้สอน อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภางค์ จันทวานิช. 2552. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สงคราม ธรรมมิญช. 2555. เอกสารประกอบการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมของประชาชน. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 2546 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำลอด. 2553. ข้อมูลทะเบียนราษฎร ณ เมษายน. อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-20