การพัฒนาแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองสำหรับนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ผู้แต่ง

  • กาญจนา จันทร์ประเสริฐ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง, นักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ดัชนีความสอดคล้อง, ความตรง, ความเที่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองสำหรับนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองที่พัฒนาขึ้นโดยการประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruency Index: IOC) และหาค่าความเที่ยง (Reliability) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Samples) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach)

ผลการศึกษาพบว่า 1) แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองที่พัฒนาขึ้น มีจำนวน 40 ข้อ ลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดย 5 หมายถึงระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 หมายถึงระดับไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และจำแนกเป็น 3 ด้าน คือคุณลักษณะการจัดการตนเอง (ข้อ 1-13) คุณลักษณะความต้องการในการเรียนรู้ (ข้อ 14-25) คุณลักษณะในการควบคุมตนเอง (ข้อ 26-40) 2) แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruency Index: IOC) มีค่าเท่ากับ +0.6 ถึง 1.0 และค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ 0.941

References

จีระวัฒน์ ยุวอมรพิทักษ์. (2544). ลักษณะการเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุฑารัตน์ วิบูลย์ผล. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองกับความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2554). ชุดวิชาการศึกษาตามอัธยาศัย ในสาขาวิชาการศึกษานอกระบบ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2553, จาก http://cyberclass.msu.ac.th/c y b e r c l a s s / l i b r a r y / l i b r a r y . p h p ? c o u r s e i d =YDQ1PWJs&pid=9116&lang=en

นรินทร์ บุญชุ. (2532). ลักษณะการเรียนรู้โดยการนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต (การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง) บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นัจญ์มีย์ สะอะ. ( 2551). ผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นัดดา อังสุโวทัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตัวเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

นันทวัน ชุมตันติ. (2553). Self-Directed Learning Readiness Level of the First Year Students Majoring in English. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2553, จาก http://www.human.nu.ac.th/jhnu/file/journal

นิตยา สำเร็จผล. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.” การประชุมทางวิชาการการวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 249-257.

บุญยิ่ง ประทุม.(2555).ทิศทางการศึกษาของไทยในบริบทประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555, จาก http://202.143.190.130/newweb/plan/?name=news&file=readnews&id=263

สิริรัตน์ สัมพันธ์ยุทธ. (2540). ลักษณะการเรียนรู้โดยการนำตนเองของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, วิชาเอกการศึกษาผู้ใหญ่ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2542). Measurement and Achievement Test Construction.8th Bangkok: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิศริยา ทองงาม. (2545). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบนำตนเองวิชาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสรรค์สร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Guglielmino,L.M. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. Unpublished doctoral dissertation, University of Georgia. Dissertation Abstracts International. 38(11a): pp.64-67

Knowles,M. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learner and Teacher. Association Press, New York.

Mezirow, Jack.A.(1981). Critical theory of adult learning and education. Adult Education Quarterly, 32 (Fall), 3-24.

Murray, F. Jennifer,K. Grace,T(2001). Development of a self-directed learning readiness scale for nursing education. Nurse Education Today, 21(7), 516-525.

Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity Dutch Journal of Educational Research. 2: pp. 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-20