ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับและการเปิดรับสื่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อุษา บิ้กกิ้นส์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านจิตวิทยา, ปัจจัยด้านพฤติกรรม, ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม, พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับและการเปิดรับสื่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร ในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวนทั้งหมด 1,011 ชุด มีการสนทนากลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่มีประสบการณ์เมาแล้วขับ ที่มีอายุระหว่าง 18-24ปี จำนวน 36 คน และการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มวัยรุ่นชายที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และมีประสบการณ์เมาแล้วขับ ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี จำนวน 40 คนในจังหวัดกรุงเทพฯ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อคือ เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะมึนเมาและเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขณะมึนเมา

ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับและการเปิดรับสื่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยเสี่ยง (Risk Factors) ที่มีผลต่อการเมาแล้วขับของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านพฤติกรรม ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม พฤติกรรมเมาแล้วขับของเพื่อนสนิท

ส่วนพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขณะมึนเมา พบว่า สื่อที่กลุ่มวัยรุ่นเปิดรับมากที่สุดคือสื่อโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต วัยรุ่นรับรู้สื่อสติ๊กเกอร์ ป้ายประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์และสื่อทางโทรทัศน์ ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ค่อยแพร่หลายเท่าที่ควร และไม่น่าสนใจสำหรับวัยรุ่น สติ๊กเกอร์มีข้อดีที่ทำให้พบเห็นบ่อยทำให้รู้สึกชินตา เมื่อเปิดรับสื่อแล้ววัยรุ่นจะให้ความสนใจกับสื่อที่มีลักษณะขบขันและน่ากลัวมากกว่าสื่อที่ให้ข้อมูลข่าวสารทั่วไป นอกจากนี้กลุ่มวัยรุ่นได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสื่อรณรงค์ว่า สื่อรณรงค์ที่ดีนั้นควรเป็นสื่อวิดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหวเน้นให้เห็นอุบัติเหตุที่น่ากลัว ติดขวดเหล้า ติดตามโต๊ะที่จะดื่ม ติดตามร้านเหล้าและควรเน้นภาพที่น่ากลัวแล้วติดข้างขวดเหมือนบุหรี่

References

ศิริชัย พงษ์วิชัย.(2553). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์.(พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2551,รายงานผลการสำรวจเด็กและเยาวชน ปี 2551 .สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2554.

Bandura, A. 2004. Self-efficacy. (Online) Available : Http: // www.emory.edu/

Bandura, A. (1969) .Principles of behavior modification. NY: Holt, Rinehart &Winston. Bandura , A.(1977) . Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Vold, GB & Bernard, TJ. (1986). Theoretical Criminology,3rd ed,. Oxford University Press, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-20