กลยุทธ์การพัฒนารูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ การบริการ ฝึกอบรมภาษาอังกฤษในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อิทธิกร วัฒนะ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริหารระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, ธุรกิจแฟรนไชส์, การฝึกอบรมภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนารูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ การบริการฝึกอบรม ภาษาอังกฤษในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อสำรวจความคาดหวังของผู้ใช้บริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษและความต้องการทางด้านระบบและมาตรฐานการดำเนินการ ธุรกิจแบบแฟรนไชส์ของผู้ใช้บริการและเจ้าของธุรกิจฝึกอบรมภาษาอังกฤษ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการให้บริการ ปัจจัยความสำเร็จ รวมไปถึงปัญหา อุปสรรคและโอกาสในการสร้างศักยภาพและมาตรฐานการให้บริการธุรกิจฝึกอบรมภาษาอังกฤษในรูปแบบแฟรนไชส์ในประเทศไทย และเพื่อออกแบบกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Business Model) ในการบริหารจัดการธุรกิจการให้บริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษในประเทศไทย ที่เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อหรือผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) และผู้ใช้บริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ (Customer) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Method Research) โดยการสำรวจความคาดหวังความต้องการของผู้ใช้บริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยสำรวจข้อมูลภาคสนาม (Survey method) ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้จากผู้ใช้บริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 400 คน โดยกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เป็นผู้ใช้บริการหรือผู้สนใจจะใช้บริการหรือผู้ที่เคยใช้บริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ ในประเทศไทย สามารถสื่อสารภาษาไทยได้และให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี (ร้อยละ 22.75) และ 36-45 ปี (ร้อยละ 20.25) สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ มีรายได้ครอบครัวระหว่าง 10,001 – 20,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 27.50) และ 40,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน (ร้อยละ 25.25) ความคาดหวังและความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อธุรกิจฝึกอบรมภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านจากมากไปหาน้อยใน 3 อันดับแรกคือ ผู้สอนมีทักษะในการสอน ผู้สอนเอาใจใส่ และช่วยพัฒนาการเรียนอย่างใกล้ชิด และการเดินทางไปเรียนสะดวกความคาดหวังและความต้องการในระดับมาก 3 อันดับแรกคือ พนักงานอธิบายและตอบคำถามเกี่ยวกับการให้บริการได้อย่างชัดเจนเสมอ พนักงานมีอัธยาศัยไมตรีและพนักงานให้บริการดี

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ มี 12 ปัจจัย ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของศูนย์ฝึกอบรมภาษาอังกฤษ การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ปัจจัยด้านบุคคล การลดราคาค่าลงทะเบียนเรียน กระบวนการให้บริการ หลักสูตรการเรียน การสอนเป็นหลักสูตรที่ได้ผลนำไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันหรือในธุรกิจ หลักสูตรการเรียนการสอนที่มีชื่อเสียง ราคาค่าลงทะเบียนเรียน ทำเลที่ตั้งสะดวกในการเดินทาง ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า ลักษณะอาคารสถานที่ ละเป็นหลักสูตรที่ช่วยส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษในวัยเรียน

ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษของผู้ใช้บริการจากการวิจัยเชิงปริมาณ และความคาดหวังและความต้องการทางด้านระบบ และมาตรฐานการดำเนินการธุรกิจแบบแฟรนไชส์ของเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์การให้บริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ ผู้สนใจเป็นผู้ซื้อสิทธิ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์ จากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญ พบว่าประเด็นสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดในธุรกิจแฟรนไชส์การบริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษในประเทศไทย ได้แก่ หลักสูตรการสอนให้ เรียนรู้ได้ง่าย (Easy : E) การใช้วิธีการสอนที่สนุก (Enjoyment : E) ปรับการเรียนการสอนให้เหมาะกับธรรมชาติของคนไทย (Natural Teaching Style : N) หลักสูตรตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Need : N) ทำเลที่ตั้งดี (Good Location : GL) การตกแต่งดูดี (Good looking Training Center : GL) มีนวัตกรรม (Innovation : I) การประชาสัมพันธ์สร้างภาพพจน์ที่ดี (Image : I) ความมีระบบ (Systematic Style : S) ความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน (Simplicity : S) การมีความสุขในการเรียนและการทำงาน (Happiness : H) และ ความซื่อสัตย์ (Honesty : H)

ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ออกแบบกลยุทธ์การพัฒนารูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์การบริการฝึกอบรมภาษาอังกฤษในประเทศไทย คือ (ENGLISH)2

References

จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2554). ก้าวสู่ AEC ภาษาอาเซียน จำเป็นจริงหรือ. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555, จาก http: // www.Itd.or.th

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2548). วารสารมติชนสุดสัปดาห์.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2545). “การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การเพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ” วารสารการจัดการภาครัฐและเอกชน, 8, 1.

นงลักษณ์ จารุวัฒน์ และคณะ.(2554). แปลจาก Steve Jobs by Walter Isaacson. กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊ค.

พรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์.(2010). แปลจาก Everything I Know About Business I Learned at McDonald’s by Paul Facella. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

พิสิทธิ์ พิพัฒน์โภคากุล.(2555). ธุรกิจบริการกับการเตรียมความพร้อมรับมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2555, จาก http://www.oknation.net/blog/pisitpipatphokakul/2012/07/12/entry-1

พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์.(2546). แฟรนไชส์ ยุทธการโคลนนิ่งธุรกิจ กรุงเทพฯ : เออาร์ บิสซิเนส เพรส.

วีระพงษ์ ปัญญาธนคุณ. (2555). ประชาคมอาเซียนกับแนวโน้มด้านภาษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2555, จาก http://www.deepsouthwatch.org/node/2780

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555). บันทึกอาเซียน 45 ปี ประเทศไทยกับอาเซียน 8. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2555, จาก http://www.dailynews.co.th/article/825/154511

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2545). กลยุทธ์การตลาด. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Crystal, David. (2010). The Cambridge Encyclopedia of Language. Cambridge : Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-20