โปรแกรมบริหารความขัดแย้งตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้แต่ง

  • สุธีรา นิมิตรนิวัฒน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความขัดแย้ง, นีโอฮิวแมนนิส, การทำงานเป็นทีม, มหาวิทยาลัยเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมบริหารความขัดแย้งตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีต่อการบริหารความขัดแย้งและคุณลักษณะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน และทดลองใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้น เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อายุ 18-20 ปี จำนวน 66 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1.รูปแบบโปรแกรมบริหารความขัดแย้งตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส ประกอบด้วย การกำหนด กลุ่มผู้รับบริการ การกำหนดเนื้อหา การกำหนดการเรียนการสอน การจัดประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผล

2. ผลการทดลองใช้โปรแกรมบริหารความขัดแย้งตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส พบว่า

2.1 หลังการทดลอง กลุ่มทดลองบริหารความขัดแย้งเป็นไปตามเกณฑ์คือ เหมาะสมมากกว่าก่อนการทดลอง

2.2 กลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดคุณลักษณะการทำงานเป็นทีมหลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

2.3 กลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดคุณลักษณะการทำงานเป็นทีมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2550). เท่าทันทุนนิยม. กรุงเทพฯ: หจก. ภาพพิมพ์.
เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2553). Super Change สร้างคนรุ่นใหม่(เพื่อไป) สร้างชาติ. กรุงเทพฯ: หจก. ภาพพิมพ์.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ. สืบค้น 10 มีนาคม 2557, จาก http://graduateschool.bu.ac.th/tqf/images/pdf/tqf_th.pdf.
จิตรภณ จารุศรีวรกุล. (2556). นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สัมภาษณ์. 4 พฤศจิกายน 2556.
ชนาธิป ศิริปัญญาวงศ์. (2550). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตโดยใช้หลักการนีโอฮิวแมนนิสและสัญญาแห่งการเรียนรู้ (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2548). AQ อึดเกินพิกัด. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.
ปิยะพงษ์ น้อยเจริญ. (2556). นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สัมภาษณ์ 4 พฤศจิกายน 2556.
มนต์ชัย สิทธิจันทร์. (2547). ผลของการฝึกจินตนาการในการเรียนรู้การสอนวิชาพิสิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการจินตนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรัตน์ อภินันท์กูล. (2548). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ประสบความสำเร็จตามกฎแห่งความสำเร็จของนโปเลียนฮิลล์ (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาพร จันทรา. (2556). นักศึกษาคณะบัญชี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สัมภาษณ์ 4 พฤศจิกายน 2556.
วิทยา นาควัชระ. (2545). ดวงใจใยดี. กรุงเทพฯ: ที.พี. พริ้นท์.
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2545). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอุปนิสัย 7 ประการ ตามแนวคิดของสตีเฟ่นอาร์โควี่ สำหรับเยาวชนตอนปลายโดยใช้หลักการของนีโอฮิวแมนนิสและการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หลุย จำปาเทศ. (2552). จิตวิทยาการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี สาลิกานนท์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาชีวิตสำหรับครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
อุ่นตา นพคุณ. (2546). กรอบแนวคิดการพัฒนาโปรแกรมอย่างมีส่วนร่วมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: หจก. ชวนพิมพ์.
Sarkar, P. R. (n.d.). The great universe: discourses on society. N.P.: n.p.
Robbins, S. P. (2005). Organizational Behavior. (11Th ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Thomas, K. W., & Kilmann, R. H. (1986). Developing a forces-choice measure of conflict-handling behavior: The MODE instrument. Educational and Psychological Measurement, 37, p. 309-325.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-21