การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความไว้วางใจที่พยากรณ์สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงาน
คำสำคัญ:
เครือข่ายสังคมออนไลน์, ความไว้วางใจ, สัมพันธภาพระหว่างบุคคลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความไว้วางใจ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจกับสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงาน 4) พยากรณ์สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงาน ด้วยการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความไว้วางใจ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานบริษัท พีทีทีโกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด จำนวน 359 คน เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการววิจัยพบว่า 1) สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงาน ความไว้วางใจอยู่ในระดับสูง การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง 2) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่มีความสัมพันธ์กับสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงาน 3) ความไว้วางใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ด้านการสื่อสาร ด้านความร่วมมือและแบ่งปัน ด้านความบันเทิง และความไว้วางใจ ด้านความดูแลเอาใจใส่ ด้านความตรงไปตรงมา และด้านความสำเร็จในผลงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงาน ได้ร้อยละ 45
References
ปัลดี อุณหเลขกะ. (2533). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการกับความสามารถในการปฎิบัติงานตามการรับรู้ของตนเองและหัวหน้าหอผู้ป่วย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์. (2552). ความเชื่อถือไว้วางใจภายในองค์การภาครัฐ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 2(2), 63.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณทิพย์. (2551). ทฤษฏีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
ละเอียด นาถวงษ์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลอินทร์บุรี สิงห์บุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิยะดา ฐิติมัชฌิมา. (2553). เครือข่ายสังคมออนไลน์. Executive Journal, 1(3), 150.
สุรพล พยอมแย้ม. (2548). จิตวิทยาสัมพันธภาพ. กรุงเทพฯ: บางกอก-คอมเทค อินเทอร์เทรด.
อิทธิพล ปรีติประสงค์. (2552). แนวคิดพื้นฐานในการสร้างสรรค์ชุมชนออนไลน์. สืบค้น 16 สิงหาคม 2556, จาก http://www.gotoknow.org/blog/virtualcommunitymanagement/288469
Cook, J., & Wall, T. (1980). New work attitude measures of trust, organizational commitment and need non-fulfillment. Journal of Occupational Psychology, 53,39-52.
Deutsch, M. (1960). The effect of motivational orientation upon trust and suspicion. Human Relations. สืบค้น 14 สิงหาคม 2556, จากhttp://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php? bookID=1635&read=true&count=true#sthash.rUJCjuAU.dpuf
Fox, A. (1974). Beyond contract: Work, power and trust relations. London: Faber and Faber.
Olsen, D. A., & Tetrick, L. E. (1988). Organizational restructuring: The impact on whole perception, work relationships and satisfaction. Jounal of Group Organization Studies,13, 374-388.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น