ความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตบึงกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ประจวบ แจ้โพธิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, การทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการ ทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานและจำแนกตามขนาดของโรงเรียน

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูที่สอนในโรงเรียน สำนักงานเขตบึงกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2555 จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 34 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา โดยใช้ตรวจสอบค่า IOC มีค่าระหว่าง .37 ถึง .76 และค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีการหาค่า α- Coeefficient เท่ากับ .9513 ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน และการทดสอบความแตกต่างของความคิดเห็นใช้ t - test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ Scheffe’s test ผลการวิจัยพบว่า

1. บทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตบึงกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมและรายด้านมีบทบาทอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครู พบว่า

2.1 ครูที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยพบว่าครูผู้ชายมีความคิดเห็นว่าผู้บริหารมีบทบาทในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมมากกว่าครูผู้หญิงทุกด้าน

2.2 ครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน มีความเห็นต่อบทบาทผู้บริหารใน การพัฒนาการทำงานเป็นทีมในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

2.3 ครูที่ทำงานในขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยพบว่าครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษมีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมสูงกว่าครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง ส่วนครูที่ปฏิบัติการในโรงเรียนขนาดใหญ่ และใหญ่พิเศษมี ความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
กันตยา เพิ่มผล. (2541). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
คณาจารย์ภาควิชาการประเมินและการวิจัย. (2555). วิจัยและสถิติทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2542). รูปแบบการเรียนรู้กรณีศึกษาโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
ทรงวุฒิ ทาระสา. (2549). การทำงานเป็นทีมของราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2553). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
ปิ่นแก้ว แสงเย็น. (2547). การศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมตามแนวคิดของวู๊ดดอกค์และฟรานซิสของข้าราชการครู สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา.
พนิจดา วีระชาติ. (2543). การฝึกอบรมกับการพัฒนาอาชีพ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2545). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.
มิ่งขวัญ สันทัดการ. (2546). การทำงานเป็นทีมในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ตามทรรศนะของผู้บริหารและครู (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, และคณะ. (2542). การจัดระบบใบอนุญาตประกอบอาชีพผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
สุนันทา เลาหนันท์. (2540). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: ดี.ดี.บุ๊คสโตร์.
สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุพัตรา สุภาพ. (2540). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อัจฉรา ชุนณะวงค์. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2532). กลุ่มสัมพันธ์และการบริหารทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย หิรัญโต. (2531). การบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการผลิตตำราและการวิจัยทางการปกครอง วิทยาลัยการปกครอง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-03