จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • อาคม มากมีทรัพย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

จริยธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. องค์ประกอบจริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา 2. ผลการยืนยันจริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,361 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามเกี่ยวกับจริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์เนื้อหา และการประชุมอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจากโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีคุณวุฒิระดับดุษฎีบัณฑิต จำนวน 9 คน

ผลการวิจัย พบว่า

1.องค์ประกอบจริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 11 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความเมตตา กรุณา 2. ด้านกัลยาณมิตร 3. ด้านธรรมาภิบาล 4. ด้านความยุติธรรม 5. ด้านความซื่อสัตย์ 6. ด้านการบังคับตนเอง 7. ด้านความมีเหตุผล 8. ด้านการเป็นผู้นำ 9. ด้านการปกครอง 10. ด้านความมีวินัย และ11. ด้านความรับผิดชอบ

2. จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ จำนวน 11 ด้านมีความเป็นไปได้ถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2544). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ดุจเดือน พันธุมมาวิน. (2551). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. กรุงเทพฯ : เชน ปริ้นติ้ง.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
ทัศณี นุชนวลรัตน์. (2550). จริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2535). พื้นฐานการ ศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา อยู่ภักดี. (2551). การศึกษาการปฏิบัติตนตามคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา). ชัยภูมิ : มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.
พระเทพเวที (ประยุกต์ ปยุตโต). (2532). การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : ทองกวาว.
วริยา ชินวรรโณ. (2546). จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
สิทธิศักดิ์ ขุนนาแก้ว. (2550). การศึกษาพฤติกรรมด้านจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล ติรกานันท์. (2545). การประเมินผู้บริหารสถานศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรมและการเป็นแบบอย่างที่ดี, วารสารสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, 19(4)
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2555). การกำกับติดตามการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ. สืบค้น 15 มิถุนายน 2555, จาก http://www.kroobannok.com/4425.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). ที่ระลึกงานวันครู พ.ศ.2549 ครั้งที่ 50. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
Bandura, A. (2013). Self-efficacy : Toward a unifying theory of behavioral change Psychological Review, 84 (1977 A), 191-215. Retrieved August 8, 2013, from http://www.des.emory.edu/mfp/BanduraReferences.html.
Carroll, A.B. and Buchholtz,A.K. (2003). Business and Society : Ethics and Stakeholder Management. (5th ed). Mason : Western.
Davis, A.J. (2013). Moral leadership : the leadership of the future.Retrieved August 8, 2013, from http://hdl.handle.net/2381/4149.
Fieser, J. (2013). Ethics. Retrieved August 8, 2013, from www.iep.utm.edu/e/ethical.html.
Hoffman, M.L. (1979). Development of Moral Thought, Feeling and Behavior. American Psychologist, 10,966.
Kohlberg, L. (1976). Moral Stage and Moralization : The Cognitive Developmental Approach Moral Development and Behavior : Theory, Research and Social Issues. New York : Holt, Rinchart and Winston.
Roger, B. (1965). Social Psychology. New York : Free Press.
Sheive, L. T. and Schoenheit, M. B. (1987). Vision and the work life of educational leaders In Leadership Dissertation Abstracts international.
Vertigan, S.A. (2013). Ethics and the business of schooling : developing a critical realist Methodology. Retrieved July14,2013, from http://eprints.ioe.ac.uk/id/eprint/7511

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-04