แนวทางการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย : ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอินเดีย

ผู้แต่ง

  • วิวิธ วงศ์ทิพย์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มรดกทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะ หลักการแห่งสิทธิ และแนวทางในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) วิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นและกฎหมายของประเทศอินเดีย และ 3) นำผลการวิเคราะห์มาเป็นองค์ความรู้ใหม่และเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยและการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศไทยและประเทศอินเดีย แล้วพบว่าทั้งสองประเทศยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ (sui generis) ในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยตรง เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของทั้งสองประเทศมีความหลากหลายและเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ องค์ความรู้ทางพันธุกรรมพืช สมุนไพร วิธีการบำบัดรักษา โรค และมรดกทางวัฒนธรรม ประกอบกับหลักการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างประเทศก็ยังไม่มีความตกลงระหว่างประเทศใดให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้โดยตรงและครอบคลุมภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหมด จึงทำให้ทั้งประเทศไทยและประเทศอินเดียซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นจำเป็นต้องตรากฎหมายภายในเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นบางประเภททั้งในรูปแบบกฎหมาย เฉพาะและระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า ประเทศอินเดียมีระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบรวมศูนย์ ในขณะที่ประเทศไทยมีระบบการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบแยกตามส่วนตามความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน จึงเกิดการทำหน้าที่ซ้ำซ้อนและขาดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางสำหรับการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย คือ การกำหนดหลักการแห่งสิทธิของเกษตรกรและสิทธิชุมชนให้มีสิทธิร่วมในภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนากฎหมายคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นกฎหมายเฉพาะ การปรับปรุงแก้ไขระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปิดช่องว่างในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปถือสิทธิโดยบุคคล สร้างความร่วมมือและความตกลงระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยตรง และส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย. สืบค้น 1 สิงหาคม 2555 , จากhttp://www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php?option=com_content&task=category&sectionid=25&id=161&Itemid=262
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. สืบค้น 1 ธันวาคม 2555, จาก http:// www.culture.go.th/ichthailand/post.html
นันทน อินทนนท์. (2546). ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและผลกระทบต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้น 28 สิงหาคม 2555, จาก http://people.su.se/~nain 4031/ipandtk.htm
ยศ สันตสมบัติ. (2542). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.
ศูนย์วิจัยวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2550). รายงานการศึกษา กรอบความคิดการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย. (รายงานผลการวิจัย) กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพย์สินทางปัญญา.
สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร. (ม.ป.ป.). ความหมายของภูมิปัญญา. สืบค้น 1 ตุลาคม 2555, จาก http://tkagri.doae.go.th/temp.php?gpg=title02
สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.(2555). สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
Balakrishna Pisupati. The biological diversity act 2002 & biological diversity rule,National Biodiversity Authority, Government of India. Retrieved July 13 2012,from http://isp.unu.edu/news/2012/files/nagoyaprotocol/02_ India.pdf
WIPO regional seminar on ip & tk, gr & tce, The WIPO ICG: latest development and perspectives on future work, Bangkok, Thailand December 16-17, 2009,Retrieved July 13 2012, from http://www.wipo.int/edocs/mdocs/tk/en/ wipo_iptk_bkk_09/wipo_iptk_bkk_09_topic2_1.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-04