แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ภัธรภร ปุยสุวรรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นพดล เจนอักษร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปิลัญ ปฏิพิมพาคม มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา, สมาคมผู้ปกครองและครู

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย 2. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย และ 3.แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย สมาคมผู้ปกครองและครูจำนวน 280 สมาคม ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ นายก สมาคม อุปนายกสมาคมและเลขานุการสมาคมผู้ปกครองและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2. แบบสอบถามความคิดเห็น 3. แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบและยืนยันแนวทางที่เหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิง สาเหตุ (path analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1. การสร้างภาคีเครือข่าย 2. บรรยากาศ องค์การ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิก 5. การประเมินผล 6. การสนับสนุนทรัพยากร

2. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยที่ได้วิเคราะห์องค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีความสัมพันธ์ทางตรงระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน (factors 3) การประเมินผล (factors 5) การสนับสนุนทรัพยากร (factors 6) กับการสร้างภาคีเครือข่าย (factors 1) บรรยากาศองค์การ (factors 2) การมีส่วนร่วมของสมาชิก (factors 4) และความสัมพันธ์ทางอ้อมระหว่างบรรยากาศองค์การ (factors 2) และการสร้างภาคีเครือข่าย (factors 1)

3. พบแนวทางที่เหมาะสมในทางการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคม ผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย จำนวน 28 แนวทาง และผลการตรวจสอบแนวทางที่เหมาะ สมในทางการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคม ไทยโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีความเหมาะสมกับบริบท เป็นไปได้ในการนำไปใช้ มีความถูกต้องเชิงทฤษฎี และเป็นประโยชนต่อการนำไปพัฒนาสถานศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554) กลยุทธ์และแนวทางของสภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2554, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=23296&Key =news2
กฤชนันท์ ภู่สวาสดิ์. (2551). รูปแบบการสร้างความเป็นหุ้นส่วนดำเนินงานขององค์กร เพื่อพัฒนากำลังคนระดับกลางของประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2549). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนดีเด่นโรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัญญา อภิปาลกุล. (2545). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและจัดการศึกษา ภายใต้โครงสร้างการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา : กรณีศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชินภัทร ภูมิรัตน. (2555). สพฐ.เตรียมแนะวิธีโรงเรียนรับเงินจากผู้ปกครองแบบถูกต้อง, สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2555, จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000072707
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัช บุณยมณี. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์.
ธวัชชัย รัตตัญญู. (2551). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ประภาพรรณ ไชยวงษ์. (2544). การวิเคราะห์บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการศึกษาและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรเทพ รู้แผน. (2546). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิธาน พื้นทอง. (2546). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัตติกร ผรณสุวรรณ. (2552). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันพัฒนา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษากับหน่วยงานเครือข่าย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์. (2548). การพัฒนารูปแบบการบริหารของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสันต์ สัตยคุณ (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(1),1-7.
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินรวิโรฒ.
สกาวรัตน์ ไกรมาก. (2553). การวิเคราะห์กระบวนการประชาคมเพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมุทร ชำนาญ. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาพร ธรรมศิริ. (2553). การพัฒนาเครื่องมือวัดบรรยากาศองค์การสถาบันอุดมศึกษาไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (ม.ป.ป.). การประเมินคุณภาพภายนอกเชิงพื้นที่:การสร้างระบบการมีส่วนร่วม, สืบค้นเมื่อ 13 มถิ นุ ายน 2555, จาก http://www.addkutec3.com/wp-content/uploads/2012/01/ABA-Model.pdf
Decker, L. E., Decker, V. A., Boo, M. R., Gregg, G. A., & Erickson, J. (2000). Engaging families and communities. Fairfax, VA: National Community Education Association.
Dusseldorp, D.B.W.M. van. (1980). Participation in planned development influenced by governments of developing countries at local level in rural areas. (Doctoral dissertation). Abstract International 45: 320A.
Eccles, J. S., & Harold, R. D. (1993). Parent-school involvement during the early adolescent years. Teachers College Record, 94(3), 568-587.
Epstein, J. (1997). Epstein’s framework of six types of involvement. Retrieved July 20, 2011, from http://www.csos.jhu.edu/p2000/sixtypes.htm
Floit, D. J. (2000). The effects of the quality assurance external review on Illinois school reform dissertation. (Doctoral dissertation). United States: Illinois University.
Forster, David., et al. (2000). Career Assignment Program (Cap) Competency Development Resource Guide. Retrieved July 20, 2011,from www.psagency-agencefp.gc.ca/cap/pdf/cap_guide_e.pdf
Furnham, A., & Gunter, B. (1993). Corporate Assessment: Auditing a Company’s Personality. New York: Ratledge.
Gibson, J. L. (2000). Organizations Behavior. (7th ed.). Boston: Irwin.
Gibson, J.L., Ivancevich, J.M., & Donnelly, J.H. (1973). Organizational : Structure, Process, Behavior. Texas: Business Publications
Hefferman, A.N. (1992). Perceptions of Involvement of Parents and Community Members. New York : Harper Colline.
Hoy W.K, & Miskel C.G. (2008). Educational Administration Theory, Research, and Practice. Boston, USA: Mc Graw Hill Higher Education.
Joseph M.Juran. (2009). Introduction to total quality management. Retrieved July 20, 2011, from http://totalqualitymanagement.wordpress.com/2009/06/07/dr-joseph-juran/
Kaiser, Harry M., & Chung, Chongin. (2000). Distribution of generic advertising across Participating firns. American Journal of Agricultural Economics 82(3), 659-664.
L.W. Porter, & R.M. Steers. (1974). Organizational commitment, job satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology. 59(5),603-609.
Mahoney, T.A., & Weitzel W. (1969 ). Managerial Models of Organizational Effectiveness. Admin. Sc.Quarterly, 14(3), 357 – 365.
Mowday, R. T.; Porter, L. W. & Steer, R. M. (1982). Employee–Organization Linkages:The psychology of commitment, absenteeism and turnover. New York: Academic Press.
Pritchard, R. D., & Karasick, B. W. (1973). The effects of organizational climate on managerial job performance and satisfaction. Organizational Behavior and Human Performance, 9, 126-146.
Ralph B. Kimbrough & Charles William Burkett. (1990). The Principal ship: Concepts and Practices. Prentice Hall: University of Michigan.
Reeder, W.W. (1973). Beliefs, Disbelief and Social Action. New York: The Free Press.
Ubben, C.G. & Others. (2001). The Principal :Creative Leadership for Effective School. (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-05