สหสัมพันธ์คาโนนิคอลของปัจจัยการนิเทศการบริหารโรงเรียน

ผู้แต่ง

  • วลัยพรรณ บุญมี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประเสริฐ อินทร์รักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การนิเทศ, การบริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methodology) คือมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ปัจจัยการนิเทศการบริหารโรงเรียน 2) สหสัมพันธ์คาโนนิคอลของปัจจัยการนิเทศการบริหารโรงเรียน วิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การพัฒนาเครื่องมือวิจัย 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล 4) การนำเสนอผลการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นโรงเรียนผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ประเภทที่ 1 กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 37 เขต โรงเรียน 155 โรง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ผู้อำนวย การโรงเรียน ครูวิชาการและครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 539 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured interview) และแบบสอบถามความคิดเห็น (opinionnaire) โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ –30 มีนาคม 2556 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ คาโนนิคอล.

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการนิเทศการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 12 ปัจจัย คือ 1) การนิเทศงานวิชาการ 2) การนิเทศงานบริหารทั่วไป 3) การนิเทศงานบุคคล 4) การมีส่วนร่วม 5) สื่อและเทคโนโลยี 6) ภาวะผู้นำ 7) การติดตามและประเมินผล 8) แรงจูงใจ 9) ข้อมูลสารสนเทศ 10) การนิเทศงานงบประมาณ 11) การวางแผนและ 12) บรรยากาศองค์การ

2. สหสัมพันธ์คาโนนิคอลของปัจจัยการนิเทศการบริหารโรงเรียน เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยการนิเทศบริหารงานโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย การนิเทศงานวิชาการ การนิเทศงานบริหารทั่วไป การนิเทศงานบุคคล ภาวะผู้นำ การนิเทศงานงบประมาณ การวางแผนและบรรยากาศ องค์การกับปัจจัยการส่งเสริมประสิทธิภาพการนิเทศ ซึ่งประกอบด้วย การมีส่วนร่วมสื่อและเทคโนโลยี การติดตามและประเมินผล แรงจูงใจ ข้อมูลสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กันและมี ทิศทางไปในทางเดียวกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2555, 13 กรกฎาคม). โรงเรียน 2 แห่งไม่ผ่านเกณฑ์. โพสต์ทูเดย์. น.6.
ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติ ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). กระบวนการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อุทัย บุญประเสริฐ, และชโลมใจ ภิงคารวัฒน์. (2528). หลักและแนวทางในการจัดการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
Briggs, Thomas H., & Justman, Joseph. (1971). Improving instruction through supervision. New York: McMillan.
Brown, W., & D., Moberg. (1980). Organization theory and management : A macro approach. New York: John Wiley & Sons.
Burton, William H., & Brueckner, Leo J. (1955). Supervision : A social process (2nd ed.). New York: Appleton–Century Crofts.
Harris, Ben M. (1975). Supervisory behavior in education. New Jersey: Prentice Hall.
Lovell, John T., & Kimball, Wiles. (1983). Supervision for better school (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Mark, Jame R., & King, Stoop. (1985). Handbook of educational supervision : A guide of the practice (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Sergiovanni, Thomas J., & Starratt, Robert J. (1971). Supervision a redefinition (5th ed.). Singapore: McGraw–Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-05