รูปแบบสาระองค์ประกอบของการบริหารจัดการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สิริกวินท์ ครุธครองพันธุ์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตทวีวัฒนา

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ระบบ, รูปแบบสาระองค์ประกอบของการบริหารจัดการของศูนย์การ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร, รูปแบบสาระองค์ประกอบขององค์กร, กศน.เขต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ปัจจัยเชิงระบบของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต 2. พัฒนารูปแบบสาระองค์ประกอบของการบริหารจัดการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต การวิจัยนี้ใช้ประชากรเป็นตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตในกรุงเทพมหานครเขตละ 1 คน รวม 50 คน และครูกศน. 50 เขตๆ ละ 4 คน รวม 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเชิงสำรวจความคิดเห็นการปฏิบัติ ปัจจัยเชิงระบบด้านปัจจัยนำเข้า (7 สาระคือ ผู้บริหาร ครูกศน. ผู้เรียน สื่อ หลักสูตร งบประมาณและนโยบาย) ปัจจัยกระบวนการ (8 สาระคือ เป้าหมาย เทคโนโลยี โครงสร้าง จิตสังคม กลยุทธ์ จัดองค์การ ภาวะผู้นำและการควบคุม) ปัจจัยผล (3 สาระคือ ผลผลิต ผลลัพธ์และผลที่ตามมา) แบบสัมภาษณ์ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีผลประมาณค่าสูงที่สุด 3 เขต และแบบสอบถามเพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มสนใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและใช้สถิติในการวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเชิงระบบประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (7 สาระตัวชี้วัด) ปัจจัยด้านกระบวนการ (8 สาระตัวชี้วัด) ปัจจัยด้านผล (3 สาระตัวชี้วัด) โดยมีสาระที่เป็นตัวแปรแฝง ล้วนส่งผลต่อการบริหารจัดการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตในกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเลือกสถานศึกษาที่มีคะแนนปัจจัยเชิงระบบในระดับที่สูงสุดมาจำนวน 3 แห่ง เพื่อศึกษากรณี (Case Study) เจาะลึกก็ยืนยันผลตรงตามการวิจัยเชิงสำรวจ และผลการสนทนากลุ่มสนใจ ทำให้มั่นใจได้ว่าตัวชี้วัดและสาระองค์ประกอบศึกษานี้เป็นรูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตใช้เป็นรูปแบบการบริหารจัดการของกศน.ได้

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2538). การศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศบอ.). (2547). ห้าสิบปี ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี (ศ.อ.ศ.อ.). อุบลราชธานี: โรงพิมพ์อุบลยงสวัสดิ์ออฟเซท.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงานกศน.: คัมภีร์ กศน. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ. (2554). แถลงการณ์จอมเทียน (Jomtien Statement). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Bertalanffy, LudwigVon. (1968). General system theory: foundation, development application. New York: George Braziller.

Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (1991). Education administration: theory, research, and practice. N.P.: McGraw–Hill.

Kahn, J.A. (1969). Theory and practice of social planning. New York: Russell Sage Foundation.

Kast, Fremont E., & Rosenzweig. Organization and management: A System and contigency approach (4th ed.). New York: Mc Graw-Hill Book.

Katz, D., & Kahn, L.R. (1978). The Social psychology of organizations (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Lunenburg, F. C., & Ornstein, A.C. (1996). Education administration: Concepts and prectices (2nd ed.). Belmont: Wadsworth Publishing Company.

Roger Kaufman. (1991). Strategic planning in education. New Holland Avenues: Technomic Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-06