ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทรงยศ แก้วมงคล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มณฑป ไชยชิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, อิทธิพล, ประสิทธิผล, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ปัจจัย ระดับนักเรียน ปัจจัยระดับครูและปัจจัยระดับผู้บริหาร และเพื่อสร้างโมเดลพหุระดับของปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนดังกล่าว ตัวอย่างคือ นักเรียน 1,260 คน ครู 672 คน และผู้บริหาร 84 คน รวม 2,016 คน จากโรงเรียน 84 โรงซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้รับเครื่องมือกลับคืนมาจากนักเรียน 1,234 ชุด จากครู 631 ชุด และจาก ผู้บริหาร 84 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายและการวิเคราะห์พหุระดับด้วยสมการถดถอย

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวมของโรงเรียนดังกล่าวอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่า พฤติกรรมการเรียนมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วน เจตคติต่อการเรียนไม่มีอิทธิพล 3. ปัจจัยระดับครู พบว่า วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การสอน คุณลักษณะครูและพฤติกรรมการสอนไม่มีอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการรายห้องเรียน แต่วุฒิการศึกษาของครูมีอิทธิพลทางบวกต่อค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของพฤติกรรมการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ปัจจัยระดับผู้บริหาร พบว่า พฤติกรรมการบริหารด้านการเป็นผู้นำด้านพฤติกรรมการตัดสินใจ และด้านพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารมีอิทธิพลทางบวกต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลการบริหารวิชาการรายโรงเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนประสบการณ์การบริหารและการฝึกอบรมทางการบริหารไม่มีอิทธิพล และ 5. จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอโมเดลการวิเคราะห์พหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะบางประการสำหรับการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและการวิจัยในอนาคต

References

กมลวรรณ ชัยวานิชศิริ. (2536). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นารี อาแว. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของหัวหน้าภาควิชาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเรือน หมั้นทรัพย์. (2538). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนคาทอลิก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2536). ความผูกพันต่อสถาบันของอาจารย์ในสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2538). การนิเทศ และ การสอนพยาบาลในคลินิก (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของสาขาวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันราชภัฎ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2542). AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

องอาจ นัยพัฒน์. (2545). การประเมินประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2542. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา และจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินรวิโรฒ.

Cuthbert, Rob. (1996). Working in higher education. SRHE and open university process. Buckingham, UK.

Gibson, James L. (2000). Organizations: Behavior structure process. International edition (10th ed.). U.S.A.: Mc Graw Hill.

Hoy K. Wayne, & Miskel, Cecil G. (2001). Education administration: Theory, research and practice (3rd ed.). New York: Mc Graw Hill Company.

Teddlie, Charles, & Reynolds, D. (2000). The International handbook of school effectiveness research. New York: Falmer Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-06