ความสอดคล้องของตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ชาญณรงค์ ชัยพัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

อาณาเขตเงินตราที่เหมาะสม, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, อาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา ระหว่าง ปี พ.ศ.2523 – 2553 รวมทั้งหมด 31 ปี ซึ่งได้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสอดคล้องกันในเรื่องอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ระดับการเปิดประเทศ และการเปลี่ยนแปลงค่าเงินสกุลท้องถิ่นต่อ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตัวแปรที่มีความสอดคล้องกันต่ำได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า ประเทศที่มีความสอดคล้องกันของตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์และประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีความสอดคล้องกันต่ำ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของอาเซียนพบว่าความสอดคล้องของตัวแปร เศรษฐกิจมหภาคอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นอาเซียนควรที่จะมีนโยบายร่วมกันในการดูแล ภาวะเงินเฟ้อของแต่ละประเทศให้มีความสอดคล้องกันก่อนเข้าร่วมอาณาเขตเงินตราที่เหมาะสม และมีระบบกลไกการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกร่วมกันก่อน เพื่อที่จะสามารถพัฒนาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นสหภาพอาเซียน (AU) ต่อไปในอนาคต

References

ชาญณรงค์ ชัยพัฒน์. (2554).“ระดับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศจากแบบจำลองการกำหนดอัตราดอกเบี้ย.” วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์,32, 3. หน้า 382-392.

ธงชัย วงศ์เสรีนุกุล. (2549). ความพร้อมในการรวมกลุ่มทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน และเอเชียตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์. (2549). “ความสอดคล้องของปัจจัยทางเศรษฐกิจในการเข้าสู่สกุลเงินร่วมกันของอาเซียน.” วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช, 1, ฉบับปฐมฤกษ์. หน้า 147-166.

ASEAN. (2008). ASEAN ECONOMIC COMMUNITY BLUEPRINT. Retrieved February 28, 2012, from http://www.asean.org/

Kenen, Peter. (1969). “The theory of optimum currency areas.” Monetary Problems in the International Economy, University of Chicago Press, pp.41-60.

Magda Kandil and Mohamed Trabelsi. (2010). “IS THE ANNOUNCED MONETARY UNION IN GCC COUNTRIES FEASIBLE?.” The Economic Research Forum.

McKinnon, R. I. (1963). “Optimum Currency Areas”. American Economic Review, 53, pp.717-725.

Mundell, R. A. (1961). “A Theory of Optimum Currency Areas”. American Economic Review, 51, pp.657-665.

Obiyathulla lsmath Bacha. (2008). “A common currency area for ASEAN? Issues and feasibility.” Applied Economics, 40, pp.515-529.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-06