การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของธนาคารออมสิน ประจำปี 2553

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล วุฒิรักขจร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนามนุษย์ สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนามนุษย์ สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ School of Economics & Public Policy, Srinakharinwirot University

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, มูลค่าปัจจุบันสุทธิ, อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ปัจจัยทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสาเหตุการตัดสินใจเกษียณอายุ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของพนักงานที่ได้รับการอนุมัติให้เกษียณอายุจากการโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ประจำปี 2553 ทั่วประเทศ จำนวน 103 ตัวอย่าง จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง เพศหญิงและเพศชาย โดยคิดเป็นร้อยละ 68.0 และ 32.0 มีอายุเฉลี่ยในปีที่เกษียณ เท่ากับ 52.9 ปี สถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.1 และส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับคู่สมรส/ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 69.9 ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชพี คิดเป็นร้อยละ 67.0 ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน คิดเป็นร้อยละ 72.8 สาเหตุหลักของการตัดสินใจของการตัดสินใจเกษียณอายุก่อนกำหนดคือ ต้องการใช้เวลาพักผ่อนและผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ ต้นทุนและผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินต่อหน่วยของพนักงาน ตลอดระยะเวลาการเกษียณก่อนกำหนด พบว่า มีต้นทุนรวมเท่ากับ 6,136,497 บาท ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนที่มีมูลค่าเพียง 3,607,468 บาทต่อคน และในทุกช่วงอายุมีต้นทุน และผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 8,734,717 บาท และ 4,798,966 บาท ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า พนักงานที่มีช่วงอายุ 41- 45 ปี มีต้นทุนและมีผลตอบแทนมากที่สุด โดยเฉลี่ยต่อคนสูงสุด เท่ากับ 13,310,385บาท และ 10,710,366 บาท ตาม ลำดับ

หากพิจารณาตามระดับงานมีต้นทุนรวมโดยเฉลี่ยในแต่ละระดับงาน เท่ากับ 5,569,709 บาท แบ่งออกเป็นต้นทุนทางตรงโดยเฉลี่ย เท่ากับ 632,066 บาทและทางอ้อมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4,937,643 บาท พนักงานระดับปฏิบัติการมีต้นทุนรวมมากที่สุดเท่ากับ 6,710,961 บาท และผลตอบแทนรวมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3,451,884 บาท พนักงานระดับบริหารมีผลตอบแทนมากที่สุดเท่ากับ 4,372,422 บาท การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินของการเกษียณอายุก่อนกำหนด พบว่า ต้นทุนและผลตอบแทนตลอดระยะเวลาการเกษียณก่อนกำหนด มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ -2,529,029 บาท และมีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C) เท่ากับ 0.6 เมื่อพิจารณาตามระดับงาน พบว่า ในทุกระดับงานมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นลบ และมีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C) เป็นศูนย์ หากพิจารณาถึงช่วงอายุของพนักงาน พบว่า พนักงานที่มีช่วงอายุ 56–59 ปี มีมูลค่าปัจจุบัน (NPV) เป็นบวกเท่ากับ 190,752 บาท และมีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C) เท่ากับ 1.1 แสดงถึงความคุ้มค่าและผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงินคือ พนักงานที่เกษียณอายุมีการติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาก

References

ทรงศักดิ์ ภูวพิทยานนท์. (2543). การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของพนักงานที่เกษียณอายุก่อนกำหนดของธนาคารไทยพาณิชย์ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและลำพูน. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถ่ายเอกสาร.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2553). อัตราดอกเบี้ยเงินฝากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2554 ; จากhttp://www2.bot.or.th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=208&language=th

ภคินี สุวรรณจิดา.(2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมโครงการให้เกษียณอายุก่อนกำหนดของพนักงานธนาคารออมสิน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทรา นิคมานนท์.(2544). การวิจัยทางการศึกษาและสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรา พิพัฒน์.

มาโนช โนราช . (2549). การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเกษียณก่อนกำหนดของข้าราชการ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

สมาน บุญวัตร. (2544). สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของพนักงานธนาคารกรุงไทย ภายหลังเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ศ.ม.เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-06