ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนของครูประจำการที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอน

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ช่องทางการรับนวัตกรรม, นวัตกรรมการสอน, แรงบันดาลใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนของครูประจำการที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอน 2) เพื่อศึกษาแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอนของครูประจำการที่มีผลจากการได้รับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูประจำการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจำนวน 15 เขต แต่ละสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนของครูประจำการที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอน 1.1) ช่องทางสื่อสารสนเทศ ด้านนวัตกรรมการสอนพบว่า มากที่สุดคือ หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย 1.2) ช่องทางการได้รับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนจากพบว่า มากที่สุดคือ หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย 1.3) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนประเภทที่นำไปใช้ประโยชน์กับนักเรียนพบว่า มากที่สุด คือ หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย รองลงมา 1.4) ช่องทางการรับสารสนเทศใดที่ได้รับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่ชัดเจนพบว่า มากที่สุดคือ กิจกรรม ได้แก่ การอบรมสัมมนาและการจัดนิทรรศการ 1.5) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนประเภทที่มีรูปแบบการเผยแพร่ที่น่าสนใจพบว่า มากที่สุดคือ โทรทัศน์ครู (Teacher TV)1.6) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่ได้รับแล้วทันตามเวลากำหนดพบว่า มากที่สุดคือ โทรทัศน์ครู (Teacher TV) 1.7) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่ได้รับแล้วใช้ถ้อยคำเข้าใจง่ายพบว่า มากที่สุดคือ บุคคล ได้แก่ การถาม-ตอบ ครู ศึกษานิเทศก์ 1.8) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่สามารถชักจูง และเป็นแรงบันดาลใจที่พัฒนาตนเองด้านการสอนพบว่า มากที่สุดคือ โทรทัศน์ครู (Teacher TV) 1.9) ความต้องการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนจากช่องทางที่มีความสะดวกในการรับสารสนเทศพบว่า มากที่สุดคือ หนังสือ ตำรา วารสาร งาน วิจัย 1.10) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่คิดว่าควรมีการเพิ่มเติมและปรับปรุง พบว่า มากที่สุดคือ อินเทอร์เน็ต

2. แรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอนของครูประจำการที่มีผลจากการได้รับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนในการพัฒนาศักยภาพของครู, สามารถนำสารสนเทศด้านนวัตกรรมในการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการวิจัย, การพัฒนาสื่อ และ/หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กันยารัตน์ หัสโรค์. (2543). การศึกษาการรับสารสนเทศการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี(โควตารับตรง)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ของอาจารย์แนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษากรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 10. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. มหาสารคาม: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จักรพงษ์ งามสง่า. (2543). การรับสารสนเทศเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ใช้แรงงานในโรงโม่หิน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

วิไลพันธ์ นวลสิงห์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีรฉัตร สุปัญโญ. (2532). การเผยแพร่ความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์ขั้นมูลฐานแก่สตรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2548). ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ.

สุจิรา ธงงาม. (2547). การส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่นักเรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุดใจ บุษบงค์. (2550). การจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศในโรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). ข้อเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา /คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-06