กรอบเนื้อหาข่าวความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
คำสำคัญ:
กรอบข่าว, ความรุนแรง, ความขัดแย้ง, จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางกรอบเนื้อหาข่าวของสื่อเพื่อสะท้อนภาพความรุนแรงจากความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางกรอบเนื้อหาข่าวของสื่อรวมทั้งประมวลทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย และเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เพื่อค้นหารูปแบบลักษณะการวางกรอบเนื้อหาข่าวในเชิงสร้างสรรค์เหมาะสมกับสังคมไทย โดยจะวิเคราะห์กรอบข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน เว็บไซต์ศูนย์ข่าวอิศราและสำนักข่าวอามานตามแนวทางของ Robert Entman ใน 7 เหตุการณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2547 -2552 คือ ปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 จับกุม คนร้ายในมัสยิดกรือเซะ สลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบจับทหารนาวิกโยธินเป็นตัวประกันระเบิดกลางเมืองหาดใหญ่ ยิงผู้โดยสารรถตู้สายเบตง-หาดใหญ่และยิงครูท้องแก่ นอกจากนี้จะสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทำหน้าที่นายประตูข่าวสารจำนวน 12 คน ผู้มีส่วน ได้เสียและเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จำนวน 35 คน ผลการศึกษาพบว่าสื่อต่างประเภท กันจะวางกรอบเนื้อหาข่าวความรุนแรงต่างกัน โดยหนังสือพิมพ์ใช้กรอบในบทบาทหน้าที่ เพื่อนิยามเหตุการณ์และวางกรอบไปในทิศทางเรื่องราวทางการเมืองระหว่างรัฐกับกลุ่มต่อต้านเป็นหลัก ซึ่งช่วงแรกนิยามเป็นกลุ่มก่อการร้ายแบ่งดินแดน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นกรอบการก่อความไม่สงบตามนโยบายทางการเมือง ซึ่งพบกรอบผ่านการใช้คำสำคัญในการพาดหัวข่าวและการทำซ้ำ ขณะที่สื่อเว็บไซต์วางกรอบในบทบาทเสนอทางแก้ไข ปัญหาไปในทิศทางของมนุษยธรรมและสันติภาพเป็นกรอบหลัก กรอบข่าวของสื่อได้ทำหน้าที่ตามแนวทางที่ Entman ได้กล่าวไว้ สื่อสิ่งพิมพ์ใช้กรอบเพื่อทำหน้าที่ในการอธิบายเหตุการณ์ต่อสังคมโดยมีผู้นำทางการเมืองและชนชั้นปกครองเป็นผู้ตีความและกำหนดกรอบเป็นไปตามแนวคิด Cascade Model ของ Entman ขณะที่สื่อเว็บไซต์วางกรอบเพื่อนำเสนอทางออกให้กับสังคมเป็นหลักโดยปฏิเสธแนวคิดขอบ Entman ที่เชื่อว่าเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญผู้นำทางการเมืองและชนชั้นปกครองจะเป็นผู้กำหนดทิศทางในการทำความเข้าใจกับสังคมผ่านทางการวางกรอบข่าวของสื่อเนื่องจากพบการวางกรอบที่เกิดขึ้นจาก Policy Agenda Setting น้อยมาก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำเสนอข่าวมากที่สุดคือปัจจัยด้านองค์กรสื่อและปัจจัยด้านการเมือง ส่วนแนวทางการเสนอกรอบ เนื้อหาข่าวในเชิงสร้างสรรค์ไม่มีสูตรตายตัวควรรายงานข่าวแบบสื่อสันติภาพและทำข่าวในเชิงลึกยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
References
กฤษณะ วัชรเทศ. ( 2552). สื่อมวลชนกับการต่อต้านการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. (เอกสารวิจัย ). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
นุวรรณ ทับเที่ยง (2550 ).ผลกระทบของการสื่อสารมวลชน : ทัศนคติของประชาชนในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ไม่สงบ (รายงานการวิจัย). ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
วลักษณ์กมล จ่างกมล. (2550). สื่อเพื่อสันติภาพ จริยธรรม การจัดการ และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา. (รายงานการวิจัย). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. ( 2552 ). คู่มือรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง. กรุงเทพ : เจริญวิทย์การพิมพ์.
พีระ จิรโสภณ. ( 2551). “นายประตูข่าวสารในอุดมคติ. ” หนังสือครบรอบ 11 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ หน้า 15-20 .
Baran ,Stanley J. & Dennis K. Davis . (2006). Mass Communication Theory Foundation Ferment and Future. CA.,Malloy Inc.
McCombs , Maxwell (2004). Setting the Agenda. Cornwall, Uk. : MPG Books, Bodmin.
McCombs , Maxwell & S.I. Ghanem . (2001).“The Convergence of Agenda Setting and Framing” In S.D. Resse ,O.H. Gandy , and A.E. Grant (eds.) Framing Public Life: Perpective on Media and Our Understanding of the Social World. Mahwah,NJ : Erlbaum.
Entman ,Robert M. (1993). “ Framing : Towards Clarification of Fractured Paradigm”. Journal of Communication,43,4. pp.51-58
Entman , Robert M. ( 2003 ). “ Cascading Activation : Contesting the White House’s Frame After 9/11” Political Communication, 20 pp 415-432.
McCombs, M., & Shaw, D.L. (1972). “The Agende Setting function of the mass media.” Public Opinion Quarterly,36. pp. 176-185.
Bannavong ,Galina. (2005). Framing of Newson Terrorism in Southeast Asian Newspapers. MA.,Bangkok : The Bangkok University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น