ความคงตัวของสารสีแอนโทไชยานินจากกากกลีบดอกกระเจี๊ยบแดง (HIBISCUS SABDARIFFA LINN.) ในผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวมูน

ผู้แต่ง

  • ญาณี จินดามัง สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ปิยะวิทย์ ทิพรส สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความคงตัวสารสีแอนโทไซยานิน, กากกลีบดอกกระเจี๊ยบแดง, ข้าวเหนียวมูน, ข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงู

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงตัวของสารสีแอนโทไซยานิน จากกากกลีบดอกกระเจี๊ยบแดงในผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวมูน ขั้นแรกวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของกากกลีบดอกกระเจี๊ยบแดง พบว่า มีค่าพลังงาน 62.0 Kcal /100 กรัม พลังงานจากไขมัน 0.0 Kcal /100 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.1% (db)โปรตีน 1.22% (db) ไขมัน 0.05% (db) เถ้า 1.29% (db) และความชื้น 83.3% (db) ขั้นที่สองศึกษาผลของอุณหภูมิและเวลาสกัดสารสีแอนโทไซยานินจากกากกลีบดอกกระเจี๊ยบแดง โดยใช้อัตราส่วนระหว่างกากกลีบดอกกระเจี๊ยบแดงต่อน้ำที่มีค่า pH 2.5 (ปรับด้วยกรด HCl 1%) เป็น 1 : 4 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ตามลำดับ แปรค่าอุณหภูมิ 60OC 80OC และ 100OC เวลาสกัด 10 20 และ 30 นาที วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) ทดลอง 3 ซ้ำ พบว่า อุณหภูมิและเวลาสกัดที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 100OC นาน 30 นาที ให้ค่าสีแดง(a*) 13.65 สารละลายสีแอนโทไซยานินที่สกัดได้มีค่า pH 2.29 ปริมาณแอนโทไซยานิน ทั้งหมด 0.41 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตรตัวอย่าง (db) และค่า TSS 0OBrix ขั้นที่สามศึกษา อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างสารละลายสีแอนโทไซยานินต่อข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงู (Oryza sativa Linn.) ที่มีต่อการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้ทดสอบนำสารละลายสีแอนโทไซยานินสกัดจากสภาวะที่เหมาะสมของขั้นที่สอง แปรค่าอัตราส่วนสารละลาย สารสีแอนโทไซยานินต่อข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงู เป็น 30:70 40:60 และ 50:50 โดยน้ำหนักต่อน้ำหนักแช่ทิ้งไว้ 6 - 8 ชั่วโมง นำข้าวเหนียวที่ผ่านการแช่ผลิตข้าวเหนียวมูนด้วยสูตรต้นแบบที่คัดเลือกเติมมอลโทเดกซ์ทรินผง (DE 10) เป็นสารช่วยเกิดเจลให้ผู้ทดสอบที่ไม่ผ่านการฝึกฝน จำนวน 30 คน ทำแบบทดสอบ Hedonic Scale -9- Points วางแผนการทดลองแบบวัดค่าซ้ำ (Repeated Measure Design) พบว่า อัตราส่วนการแช่ข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงูด้วยสารละลายสีแอนโทไซยานิน 50:50 ได้รับคะแนนความชอบรวม ลักษณะปรากฏสี เนื้อสัมผัส รสชาติและกลิ่นรสมากที่สุด คือ 8.1 7.7 8.3 7.6 7.9 และ 7.7 คะแนน ตามลำดับ สุดท้ายประเมินอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวมูนที่มีต่อความคงตัวของสารสีแอนโทไซยานินในผลิตภัณฑ์ นำสภาวะที่เหมาะสมจากข้างต้นเก็บไว้ที่อุณหภูมิตู้เย็นเป็นเวลา 1 2 และ 3 วัน เทียบกับอุณหภูมิห้อง พบว่า มีปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมด เท่ากับ 0.90 0.91 และ 0.93 มิลลิกรัม/100 กรัม ตัวอย่างตามลำดับ ค่าการเหม็นหืน (เปอร์ออกไซด์) และความแข็งเพิ่มขึ้น ส่วนค่าสีแดงลดลง ขณะที่ค่า aw เท่ากันทั้ง 3 วัน (0.95 aw) การเจริญเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ทั้งหมด และยีสต์-ราอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อผู้บริโภค สำหรับการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสพบว่า การเก็บในตู้เย็นทั้ง 3 วัน ผู้ทดสอบไม่ยอมรับแต่ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ณ วันแรกที่ทำข้าวเหนียวมูน ผสมสารสีแอนโทไซยานิน เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (30±0.5OC). มีปริมาณแอนโทไซยานิน ทั้งหมด 0.21 มิลลิกรัม/100 กรัมตัวอย่าง (wb) พลังงาน 257.5 Kcal พลังงานจากไขมัน 23.5 Kcal คาร์โบไฮเดรต 55.43% (wb) ความชื้น 38.54% (wb) โปรตีน 3.06% (wb) ไขมัน 2.60% (wb) และเถ้า 0.39% (wb)

References

จรัญ เกษมรัติ. (2552). สูตรและกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวมูน. ได้จากการสัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552.

ดวงกมล ลืมจันทร์. วิษฐิดา จันทราพรชัย และวิชัย หฤทัยธนาสันติ์. (2551). การสกัดแอนโทไซยา นินจากข้าวเหนียวดำ. แหล่งที่ http://www kucon.lib.ku.ac.th/cgibin/KUCON.exe?rec_id=010962&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON, 6 มิถุนายน 2552

บุศรารัตน์ สายเชื้อ.(2545). แอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบแดง Hibiscus sabdariff L. เพื่อใช้เป็นสี ผสมอาหาร วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพชรรัตน์ เพ็งรัตน์ และอิศราภรณ์ พาณิชย์ เจริญรัตน์. (2552). ความเสถียรของแอนโทไซยานินของกระเจี๊ยบและอัญชันในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม. ออนไลน์ เข้าถึงใน http://science.swu.ac.th/content/e65/e969/e1472/HomeAbstract.pdf, 6 มิถุนายน 2552

วนิดา เทวารุทธ์. (2552). การสกัดสารแอนโทไซยานินในธัญพืช. อาหาร. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ปีที่ 39 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2552, หน้า 293 – 298.

เพชรรัตน์ เพ็งเจริญ และ อิศราภรณ์ พาณิชย์เจริญรัตน์. (2552). ความเสถียรของแอนโทไซยานินของกระเจี๊ยบและอัญชันในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม. สืบค้นใน www.google.com, 1 หน้า.

เว็บไซต์หมอชาวบ้าน. (2552). กระเจี๊ยบมอญ. สืบค้นใน www.google.com , เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2552 , 5 หน้า.

สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2552). กระเจี๊ยบแดง. สืบค้นใน www. Google.com, สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2552, 3 หน้า.

Gradinaru, G., Biliaderis, C. G., Kallithraka, S., Kefalas, P., and Garcia–Viguera., C. (2003). Thermal stability of Hibiscus sabdariffa L. anthocyanins in solution and in solid state : effects of copigmentation and glass transition. Journal of Food Chemistry. 83 : 423 – 436.

Prodanov, M. P., Dominguez, J. A., Blazquez, I., Salinas, M. R., and Alonso, ก. L. (2004). Someaspects of the quantitative/qualitative assessment of com mercial anthocyanin – rich extracts. Journal of Food Chemistry.90 : 585 – 596.

Veridiana, V. R., Adriana, Z., and Mercadante. (2007). Evaluation of colour and stability of anthocyanins from tropical fruits in an isotonic soft drink system. Innovative Food Science & Emerging Technologies. 8 : 347 – 352.

Wrolstad, R. E., Skrede, ก., Lea, P., & Enersen, . (1990). Influence of sugar on anthocyanin pigment stability in frozen strawberries . Journal of Food Science, 55 : 1064 – 1065, 1072.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-06