การศึกษาความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานแผนกอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรม ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ อิ่มประคองศิลป์ ภาควิชาการจัดการการโรงแรมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์, นักศึกษา, ฝึกงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานในแผนกอาหารและเครื่องดื่ม 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานในแผนกอาหารและเครื่องดื่ม ตามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้านการโรงแรม ได้แก่ ผู้จัดการแผนกบุคลและฝึกอบรม ผู้จัดการแผนกอาหารและเครื่องดื่ม และพนักงานแผนกอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสิ้น 510 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงาน คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์และคุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาด้านความรู้ทางวิชาชีพและความสามารถในการปฏิบัติงานแผนกอาหารและเครื่องดื่มและด้านความรู้ทางวิชาพื้นฐาน การเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานพบว่า ด้านความรู้ทางวิชาพื้นฐาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันส่วนด้านความรู้ทางวิชาชีพและความสามารถในการปฏิบัติงานแผนกอาหารและเครื่องดื่ม และด้านมนุษยสัมพันธ์และคุณธรรมจริยธรรม พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน

References

กองบรรณาธิการวารสารสวนดุสิต. (2547). บัณฑิตใหม่กับตลาดแรงงาน มุมมองจากนักธุรกิจมืออาชีพ. วารสารสวนดุสิต 1 (2): (หน้า 90-94).

กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2553). รายงานแนวโน้มความต้องการแรงงานในช่วงปี 2553 – 2557. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

นุชสรา เกรียงกรกฎ และปรีชา เกรียงกรกฎ. (2547). ประโยชน์จากนักศึกษาฝึกงาน. Industrial Technology Review (130): (หน้า 149-153).

ประชุมพร รังสีวงศ์. (2547). การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) วิชาเอกการโรงแรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิสิษฐ์ชา ศรีเนตร์. (2552). การศึกษาความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมชั้นนำในกรุงเทพมหานคร ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาชุดฝึกอบรม เพื่อเพิ่มศักยภาพของพนักงาน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ 10 (1).

วศินา จันทรศิริ, จตุพร จันทนสุต, และนัฐพล กลั่นวารี. (2542) “แผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรม” ในเอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการจัดการและเทคนิคการบริการในโรงแรม. เล่ม 2 หน่วยที่ 9.นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วารี ศิริระเวทย์กุล. 2544. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพนักงานผู้ปฏิบัติงานครัวโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามและแนวโน้มปี 2554 - 2555. แหล่งที่มา http://www.ryt9.com/

สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2548). ระเบียบวิธีวิจัยทางคหกรรมศาสตรศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักการสอบสวนและนิติการ. (2552). บัญชีโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2552. กระทรวงมหาดไทย.

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2553). ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07