การทดสอบความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในมิติของข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับนโยบายทางการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา
คำสำคัญ:
ความมีประสิทธิภาพของตลาด, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, นโยบายการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความมีประสิทธิภาพในระดับกลางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่ามีการตอบสนองต่อข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงิน (โดยผ่านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์) ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ อย่างไร โดยนำเสนอกระบวนวิธีวิจัยที่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาหลัก 2 ประการที่เกิดขึ้นกับการทดสอบความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์ใน ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ได้แก่ ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลข่าวสารก่อนที่จะได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ และปัญหาการทดสอบสมมุติฐานร่วมที่เกิดขึ้นจากความไม่มีเสถียรภาพของตัวแบบดุลยภาพราคา ผลการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพในระดับกลาง โดยราคาของหลักทรัพย์จะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อข่าวสารที่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างรวดเร็วเหมาะสม และไม่มีความล่าช้าอย่างเป็นระบบ กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในความคาดหมายของตลาดนั้น ไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่อย่างไร ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายร้อยละ 1 จะทำให้ราคาของหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงในทิศตรงกันข้ามร้อยละ 1.83 ผลการวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการกำกับดูแลเรื่องการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้มีความถูกต้องตรงต่อเวลาและเพียงพอต่อการตัดสินใจของนักลงทุนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
References
ปิยวดี นิยมรัฐ (2534) การทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์ โดยพิจารณาถึงพฤติกรรมราคาของหลักทรัพย์ในประเทศไทย วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ วัจนปราชญ์ (2540) ความเป็นไปได้ของการใช้วิธีวิเคราะห์ทางเทคนิคในการทำนายราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริพร พรไชยะ (2543) การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมในประเทศไทย กรณีศึกษา: กองทุนตราสารทุน ช่วงปี 2539 – 2542 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bacon, Frank W. and Weinstein, Evan J. (2007, July) “Can trading on federal funds rate change announcements produce above normal stock market returns?: A test of market efficiency” Academy of Accounting and Financial Studies, Vol. 12, No. 2, pp. 5 - 12
Bhattacharya, U., Daouk, H., Jorgenson, B. and Kehr, C. (2000). “When an event is not an event: The curious case of an emerging market”. Journal of Financial Economics 55. pp.69-101.
Bernanke, Ben S. and Blinder, Alan S. (1992) “The Federal Funds Rate and the Channels of Monetary Transmission” American Economic Review, Vol. 82, issue 4, pp 901 - 921
Bernanke, Ben S. and Kuttner, Kenneth N. (2005) “What Explains the Stock Market’s Reaction to Federal Reserve Policy”. Journal of Finance 60. pp.1221-57.
Fama, Eugene F. (1970, May) “Efficient Capital Markets: A Review of Theory and Empirical Work”. The Journal of Finance, Vol 25, Issue 2. Pp 383-417
Fama, Eugene F. (1991, December)., “Efficient Capital Markets: II” The Journal of Finance, Vol. 46, No 5. pp 1575 - 1617
Gürkaynak, Refet, Sack, Brian and Swanson, Eric. (2005) “Do Action Speak Lounder than Words?” The Response of Asset Prices to Monetary Policy Actions and Statements” International Journal of Central Banking 1. pp.55-94.
Kuttner, Kenneth. N. (2001, February). “Monetary Policy Surprises and Interest Rates: Evidence from the Fed Funds Futures Market.” Journal of Monetary Economics 47. pp.523 -544
Latham, Mark (1986, March). “Informational Efficiency and Information Subsets.” The Journal of Finance, Vol. 41, No.1 pp. 39 - 52
Mackinlay, Craig A. (1997, March). “Event Studies in Economics and Finance.” Journal of Economic Literature Vol. 35 . pp.13-39.
Studenmund, A.H. (2006). Using Econometrics : A Practical Guide (5th ed.) Pearson International
Surmsrisuwan, B. (1995). An examination of the randomness of stock price move ment on the Thailand Stock Exchange. Unpublished doctoral dissertation, United States International University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น