การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างเชิงเส้น

ผู้แต่ง

  • วิชิต แสงสว่าง สาขาวิชาการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, องค์การแห่งการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 4) เพื่อประเมินความสอดคล้องของรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การหาองค์ประกอบหลักองค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้องค์การแห่งการเรียนรู้ ด้วยการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ บทความงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ขั้นตอนที่ 2 การยืนยันองค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิการหาค่าเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญและการหาค่าความเชื่อมั่นจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ขั้นตอน ที่ 3 การหาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลสูงที่ส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง จำนวน 360 คน โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรม LISREL ขั้นตอนที่ 4 การประเมินการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และนำมาจัดทำรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้

ผลสรุปของการศึกษาค้นคว้า

องค์ประกอบทั้ง 6 องค์ประกอบคือ การคิดเชิงระบบ การเป็นบุคคลรอบรู้ การมีแบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การปรับเปลี่ยนองค์การและการใช้เทคโนโลยี เป็นองค์ประกอบสำคัญของรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างเชิงเส้นพบว่า องค์ประกอบของโมเดลองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 48.49 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (p-value=.0643) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ.98 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .92 ส่วน ค่ามาตรฐานดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .035 ค่ามาตรฐานค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองส่วนที่เหลือ (SRMR) เท่ากับ .014 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมีค่าเป็นบวกทุกค่า โดยองค์ประกอบที่มีค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานสูงสุดคือ การมีแบบแผนความคิดและมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทุกค่า แสดงว่า ตัวบ่งชี้ทุกตัวมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่า โมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลประจักษ์ในระดับดี ซึ่งผลการวิจัยทำให้ได้ องค์ประกอบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 6 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย และ 79 ตัว บ่งชี้ โดยผลการประเมินความสอดคล้องของรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์องค์ประกอบคะแนนมาตรฐานที่มีค่ามากที่สุดคือ การมีแบบแผนความคิด (MM) รองลงมาการปรับเปลี่ยนองค์การ (OT) การเรียนรู้ ร่วมกันเป็นทีม (TL) การเป็นบุคคลรอบรู้ (PM) การใช้เทคโนโลยี (TA) และการคิดเชิงระบบ (ST) ตามลำดับ

References

ประเวศ วะสี. (2541). “การปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเพื่อคนทั้งมวล” หน้า 23 – 28. ในสำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. แนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ:พื้นฐานการปฏิรูปการศึกษาเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พรชุลี อาชวอำรุง. (2543). แนวทางการปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการอุดมศึกษา : รูปแบบการจัดกลุ่มอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับศักยภาพปัจจุบัน.กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรชุลี อาชวอำรุง. (2544). บทความนำเสนอในการประชุมสัมมนาของ สออ. (ประเทศไทย) เรื่อง บทบาทของมหาวิทยาลัยในยุคเศรษฐศาสตร์ขับเคลื่อนโดยความรู้ 20 กรกฎาคม 2544. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 (online),accessed24February2006, Available form ttp://www.rdpb.go.th/news/deeka2546.pdf,4.

มาลี สืบกระแส. (2552). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสยาม.

วิจารณ์ พานิช.(2547).การจัดการความรู้ เพื่อคุณภาพที่สมดุล. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล. หน้า 16 – 37.

วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2547). ผลกระทบของการปฏิรูปอุดมศึกษาของไทยต่อสังคมฐานความรู้. วารสารวิชาการ . 1(1) : 15 – 23 .

ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2550). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมคิด สร้อยน้ำ.(2547). การพัฒนาตัวแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). รายงานชุด “แนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย” รูปแบบและภารกิจอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ :วัฒนาพาณิช.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ. (2547). ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของสถาบันราชภัฏ.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Brain Quinine. (1996). Topographic Organization of Fos-like im mune reactivity in the Rostra nucleus of the solitary tract evoked by gustatory stimulation with sucrose and quinine : (online). Available from : www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleURL&_udi=B6SYR-3VXHKKS28&

Kaiser,Sandra M . (2000) .“ Mapping the Learn ing Organization :Exploring A Model of Organization Learning.” Dissertation for the Degree of Doctor of Philosophy of the Louisiana State University.

Marquardt, M. (1996) . Building the learning organization. New York: Mcgraw – Hill.

Senge, Peter M. (1990) . The Fifth Discipline : The Art and Practice of The Learning Organization . New York :Doubleday Currency .

The Brooker Group . (1999) . Background Paper on Higher Education Prepared for the Asian Development Bank . n. p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07