รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารที่ส่งผลต่อการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชน
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, การรับรู้ในบทบาทของครู, ความผูกพันต่อองค์กร, ความพึงพอใจในการทำงาน, และการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชน ตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอนจากครูโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่เคยลาออกจากโรงเรียนเดิมจำนวน 718 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนมา 611 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม LISREL วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชน อย่ในเกณฑ์ที่มีความสอดคล้องกับทฤษฎี โดยพิจารณาจากค่าอัตราส่วนไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) เท่ากับ 0.27 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี AGFI เท่ากับ 0.99 ค่า standardized RMR เท่ากับ 0.018 ค่าดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรแฝง การลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชนได้ ปัจจัยด้านการบริหารที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การรับรู้ในบทบาทของครู ความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจในการทำงาน โดยความผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลเชิงลบกับการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชน ส่วนภาวะผู้นำของผู้บริหารการรับรู้ในบทบาทของครู และความพึงพอใจในการทำงานมีอิทธิพลในเชิงบวกกับการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชน ซึ่งแสดงว่าภาวะผู้นำของผู้บริหารและการรับรู้ในบทบาทของครูมีอิทธิพลน้อยต่อการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชน ส่วนความพึงพอใจในการทำงานมีอิทธิพลในเชิงลบต่อการลาออกจากงานของครูโรงเรียนเอกชนได้ก็ต่อเมื่อส่งอิทธิพลผ่านความผูกพันต่อองค์กร
References
ปรียาพร วงศอนุตรโรจน์. 2547. จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
รุ่ง แก้วแดง. 2532. “แนวทางการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนระดับเล็ก.” การศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย กรุงเทพฯ: สภาการศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย.
สาธิต รื่นเริงใจ. 2549. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Apgar, S. M. 1998. “The Alternative Workplace: Changing Where and How People Work.” Harvard Business Review 76(3): 121-136.
Aryee, S. and K. Tan. 1992. “Antecedents and Outcomes of career Commit ment.” ournal of Vocational Behavior 40: 288-305.
Blua, G. 1985. “The Measurement and Prediction of Career Commitment.” Journal of Occupational Psychology 58: 277-288.
Bluedorn, A. C. 1982. “The Theories of Turnover: Causes, Effects, and Meaning.” Research in the Sociology of Organizations 1: 75-128.
Boyle, A. 1991. “Personality Hardiness. Way of coping Social Support and Burnout in Critical Case Nurse.” Journal of Advanced Nursing 16: 850-857.
Cronbach, L. J. 1970. Essentials of Psychological Testing 3 rded. New York: Harper and Row.
Crowley, R. 1998. A Class Act: Inquiry into the Status of the Teaching Profession. Canberra: Senate Employment, Education and Training References Committee.
Firestone, W. A. 1996. “Images of Teaching and Proposals for Reform: A Comparison of Ideas from Cognitive and Organizational Research.” Educational Administration Quarterly 32(2): 209-235.
Garcia, C. M. and J. R. Slate. 2009. Teacher Turnover: A Conceptual Analysis. (Online). http://cnx.org/content/m18916/1.3, 3 December 2009.
Greenhaus. 1971. “Self-esteem as an Influence on Occupational Choice and Occupational Satisfaction.” Journal of Vocational Behavior 1:75-83.
Kanungo, R. N. 1982. “Measurement of Job and Work Involvement.” Journal of Applied Psychology 67: 341-349.
Kast, F. E. and J. E. Rosenweig. 1974. Organization and Management: A System Approach 2nd ed. New York: McGraw-Hill Book Company.
Katz, D. and, R. L. Kahn. 1978. The Social Psychology of Organizations. 2nd ed. New York: John Wiley and Sons.
Lee, R. T. and B. E. Ashforth. 1993. “A Further Examination of Managerial Burnout: Toward an Integrated Model.” Journal of Organization Behavior 14: 15-49.
Lodahl, T. M. and M. Kejner. 1965. “The Definition and Measure of Job.” Journal of Applied Psychology 49: 24-33.
Lucus, M. D., J. R. Atwood, and R. Hagaman. 1993. “Replication and Validation of Anticipated Turnover Model for Urban Registered Nurses.” Nursing Research 42: 29-35.
Mobley, W. H. . 1982. Employee Turnover: Cause, Consequences and Control. New York: Addison-Wesley Publishing Company.
Morrow, P. C. 1983. “Concept Redundancy in Organization Research: The Case of Work Commitment.” Academy of Management Review 8: 486-500.
Mowday, R. T., L. W. Porter, and R. M. Steers. 1979. “The Measurement of Organizational commitment.” Journal of Vocational Behavior 14: 224-247.
Muldary, T. W. 1983. Manifestation and Management. New York: Appleton-Century-Crofts.
Noe, R. A. 1996. Human Resource Management: Gaining Competition Advantage. 2ne ed. New York: Mcgraw-Hill
Price, J. L. 1977. The Study of Turnover. Ames: Iowa state University Press.
Randall, D. M. and J. A. Cote. 1991. “Interrelationships of Work Commitment Constructs.” Work and Occupations 18(2): 194-211.
Schor, J. 1998. The Overworked American. New York: Basic Books.
Sheldon, M. E. 1971. “Investment and Involvements as Mechanisms Producing Commitment to the Organization.” Administrative Science Quarterly 16(2):143-150.
Smith, P.C., L. M. Kendell, and C. L. Hulin. 1969. The Measurement of Satisfaction in work and Retirement.Chicaco: Rand McNally.
Steers, R. M. 1977. Organizational Effectiveness: A Behavioral View. Santa Monica, California: Goodyear.
Yukl. G. A. 2002. Leadership in Organization. 5th ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice- Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น